INF-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู INF-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ) โดย ผู้เขียน "Sipang Dirakkhunakon"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 12 ของ 12
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ BREW กับการพัฒนาโปรแกรมบนโทรศัพท์ไร้สาย(2555-08-23T03:21:50Z) Sipang Dirakkhunakonในการพัฒนาซอฟแวร์สำหรับการใช้งานในโทรศัพท์มือถือนั้นสิ่งที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงในการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบงานนั้นคือโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมานั้นจะต้องสามารถใช้งานได้กับโทรศัพท์หลากหลายยี่ห้อหรือสามารถทำงานได้ในลักษณะ cross platform นั่นเอง โทรศัพท์มือถือบางรุ่นเป็น smart phone ใช้ระบบปฎิบัติการแบบ Symbian บางรุ่นก็ใช้ระบบปฎิบัติการเป็น Windows Mobile นอกจากข้อแตกต่างในเรื่องยี่ห้อและระบบปฎิบัติการแล้ว ก็ยังมีเรื่องของระบบเครือข่ายและผู้ให้บริการหรือ operator ที่มีหลากหลาย ในการพัฒนาซอฟแวร์ในลักษณะ cross platformรายการ ดนตรีเพื่อเสริมสร้างจินตนาการ(โลกวันนี้ นสพ.,, 2550-09-24) Sipang Dirakkhunakonการศึกษาผลกระทบของเพลงโมสาทนั้นเริ่มมีการศึกษาในฝรั่งเศสในปลายปี 1950 โดย อัลเฟรด โทมาทิส (Alfred Tomatis) เริ่มจากการทดลองของเขาที่เกี่ยวข้องกับการฟังในเด็กที่มีปัญหาทางด้านการพูด และการสื่อสารนับแต่นั้นมาก็มีศูนย์วิจัยต่าง ๆ ทั่วโลกใช้เพลงของโมสาทต์ที่มีความถี่ของเสียงสูงโดยเฉพาะไวโอลินคอนแชโต้ (violin concertos) และซิมโพนี (symphonies) เพื่อช่วยรักษาเด็กที่มีอาการออทิสซึม (autism) ซึ่งมีความผิดปกติในด้านพัฒนาการทำให้มีปัญหาทางด้านการสื่อสารและเด็กที่มีปัญหาในการเรียนการอ่านหรือการพูด (dyslexia)รายการ ทฤษฎีของแคลคูลัสที่ลำดับเป็นเศษส่วน (Fractional Calculus Theory)(2555-06-06T03:59:38Z) Sipang Dirakkhunakonรายการ มาตรฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่สู่ยุคอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง(Telecom Journal, 2550-08-15) Sipang Dirakkhunakonการเติบโตของอินเทอร์เน็ตทำให้มีการพัฒนาระบบการเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านทางระบบโทรศัพท์มือถือมาตรฐานในระบบ GSM ได้ขยายออกเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลแบบดิจิตอลผ่านระบบเครือข่ายแบบ GSM ได้ โดยวิธีการที่เรียกว่า General Packet Radio Service หรือ GPRS ซึ่งจะทำให้โทรศัพท์มือถือสามารถรับส่งข้อมูลได้เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้โมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ โดยอัตราการส่งข้อมูลในระบบ GPRS ได้ปรับปรุงเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ ในช่วงที่เริ่มมีการใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์สำหรับส่ง ข้อมูลมีการกำหนดมาตรฐานการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยผ่านโทรศัพท์มือถือหรือโปรโตคอลที่เรียกว่า Wireless Access Protocol หรือ WAP ซึ่งทำให้การใช้งานโทรศัพท์มือถือสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เหมือนกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากข้อจำกัดในการแสดงผลของโทรศัพท์ที่มีขนาดเล็กและการส่งข้อมูลที่มีขนาดจำกัด จึงมีการพัฒนามาตรฐานและแนวทางอื่นสำหรับการใช้งานขึ้นมาแทนรายการ วัฒนธรรมยุคอินเทอร์เน็ต (E-Culture)(กรุงเทพธุรกิจ นสพ., 2549-08-09) Sipang Dirakkhunakonวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นของชาติ ซึ่งสามารถปลูกฝั่งได้ และสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เช่นกันเพื่อดำรงไว้ บอกเล่าวิถีการดำเนินชีวิต และระลึกถึงประวัติศาสตร์ ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอให้เหมาะกับยุคสมัย โดยต้องอาศัยคนในท้องถิ่น คนในชาติ ต้องร่วมกันอนุรักษ์ รักษาไว้ เพื่อคงความเป็นท้องถิ่น ของชาตินั้นรายการ วิกฤตการณ์ ใบอนุญาต ลิขสิทธ์ และสิทธิบัตร ของรัฐบาลไทย ในสถานการณ์โลก(สยามธุรกิจ นสพ., 2550-05-19) Sipang Dirakkhunakonรายการ วิกฤตอุณหภูมิโลกร้อน และปรากฏการณ์ธารน้ำแข็งขั้วโลก(ประชาชาติธุรกิจ นสพ.,, 2550-06-17) Sipang Dirakkhunakonสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนนั้นมากจากหลายปัจจัยด้วยกันคือ ปริมาณการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทร รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ส่วนปัญหาเรื่องโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นและปัญหาการลดลงของชั้นโอโซนรายการ วิศวกรรมย้อนกลับ ความก้าวหน้าของอุสาหกรรมโลก(สยามธุรกิจ นสพ.,, 2550-06-13) Sipang Dirakkhunakonวิศวกรรมย้อนกลับ หรือ Reverse Engineering เป็นคนละคำกับคำว่า Reengineering ที่หมายถึงการจัดการองค์กรใหม่ โดยอาจมีเรื่องการลดจำนวนพนักงานเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่คำว่าวิศวกรรมย้อนกลับเป็นขบวนการค้นหาหลักการหรือวิธีการทำงานของอุปกรณ์หรือระบบหรือซอฟแวร์ โดยการวิเคราะห์โครงสร้าง หน้าที่การทำงาน, วิธีการใช้งานหรือโปรแกรม ส่วนใหญ่จะเป็นการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์หรืออุปกรณ์จักรกลหรือโปรแกรม จากการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานแล้วนำมาสร้างเป็นอุปกรณ์หรือระบบใหม่ที่ทำหน้าที่ได้เหมือนกับระบบที่ถูกวิเคราะห์โดยไม่ต้องมีทำการลอกแบบหรือทราบวิธีการทำงานจริง ๆ ของระบบที่ถูกทำการวิเคราะห์รายการ ห้าสิบปีของการส่งดาวเทียม(โลกวันนี้ นสพ.,, 2550) Sipang Dirakkhunakonรายการ ห้าสิบสี่ปีของการค้นพบโครงสร้างของรหัสพันธุ์กรรม(โลกวันนี้ นสพ.,, 2550-10-15) Sipang Dirakkhunakonการค้นพบ DNA เริ่มต้นในปี 1860 โดยนักวิจัยทางการแพทย์ชาวเยอรมันเฟเดอริค ไมเชอร์ (Friedrich Miescher) เขาได้เข้าทำงานที่ห้องแลป Felix Hoppe-Seyler ที่มหาวิทยาลัย Tubingen ในเยอรมัน ช่วงเวลานั้นนัก วิทยาศาสตร์ยังถกเถียงกันเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดของเซล ที่ห้องทดลองนั้นไมเชอร์ก็ได้ทำการแยกโมเลกุลที่ประกอบขึ้นเป็นเซล ไมเชอร์ได้ถูกมอบหมายให้ทำการวิจัยส่วนประกอบของเซลเม็ดเลือดขาวและเซลต่อมน้ำเหลือง เซลยากที่จะถูกสกัดแยกออกจากต่อมน้ำเหลืองแต่เขาก็สามารถแยกออกมาศึกษาได้จากแผลที่ติดเชื้อรายการ เกมส์ 3D บนโทรศัพท์มือถือในยุค 3G(Telecom Journal, 2550-10-29) Sipang Dirakkhunakonเหรียญ โปรแกรมเกมส์ก็มีการพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาจากเกมส์ที่ไม่ค่อยมีรายละเอียดมากนักและสามารถเล่นจบเกมส์ได้ในเวลาสั้น ๆ มาเป็นเกมส์ในแบบแฟนตาซีที่ตัวละครสามารถท่องไปในดินแดนต่าง ๆ และสามารถเล่นได้ต่อเนื่องและมีการแสดงผลที่ซับซ้อน เกมส์ที่มีภาพการแสดงผลที่มีรายละเอียดและภาพเป็นแบบสามมิติและระบบเสียงแบบรอบทิศสามารถจำลองสถานการณ์เพื่อให้ผู้เล่นตื่นเต้นและได้รับประสบการณ์ในแบบจำลองที่เหมือนจริงรายการ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จุดเริ่มความก้าวหน้า หรือ หายนะ ของมนุษยชาติ(ประชาชาติธุรกิจ นสพ.,, 2550-06-04) Sipang Dirakkhunakonโรงงานไฟฟ้าพลังปรมณู พลังงานนิวเคลียร์สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าจำนวนมหาศาลได้จากการควบคุมขบวนการการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ของอะตอมของนิวไคล์ของธาตุกัมมันตรังสี โดยมวลที่หายไปของธาตุกัมมันตรังสีจะกลายเป็นพลังงาน โดยระดับพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์นั้นจะมากกว่าขบวนการเผาไหม้ทางเคมีหลายเท่า หลายประเทศทั่วโลกมีการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการผลิตไฟฟ้า