กำลังเรียกดู โดย ผู้เขียน "Amnart Vangjeen"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนาดัชนีวัดความไม่พึงพอใจของลูกค้าที่พักอาศัยในบ้านจัดสรร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12-20) อำนาจ วังจีน; Amnart Vangjeenการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไม่พึงพอใจในปัญหาของบ้านจัดสรร น้ำหนักขององค์ประกอบปัญหาบ้านจัดสรรด้านต่างๆ ประชากร คือ ลูกค้าที่พักอาศัยในบ้านจัดสรร ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และส่วนภูมิภาค ใช้ตัวอย่างจำนวน 1,800 ตัวอย่าง ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ชุด มีค่าความเชื่อมั่น 0.962 สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการศึกษา ปรากฎว่า ความไม่พึงพอใจในปัญหาของบ้านจัดสรร ทั้ง 5 องค์ประกอบสามารถอธิบายความผันแปรของปัญหาบ้านจัดสรร ได้ร้อยละ 76.49 มีค่า ไอเกน เท่ากับ 3.825 มีค่า KMO เท่ากับ 0.889 ค่า ไค-สแควร์ เท่ากับ 6895.71 มีค่า p น้อยกว่า 0.001 องค์ประกอบที่มีน้ำหนักมากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านระบบสาธารณูปโภค รองลงมาเป็น บรรยากาศและสภาพแวดล้อม คุณภาพของบ้าน สิ่งอำนวยความสะดวกและส่วนกลาง และ ระบบรักษาความปลอดภัย มีน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ .918, .907, .886, .872 และ .784 ตามลำดับรายการ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้นักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพฯมีสภาพรอพินิจโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอย(สำนักงานแพทยสารทหารอากาศ กองวิทยาการ กรมแพทศาสตร์ทหารอากาศ, 2558-09) อำนาจ วังจีน; Amnart VangjeenA Study of Factors Effecting to Undergraduate Student in Bangkok Probation Conditions by Regression Analysis. Asst.Prof. Amnart Vangjeen Asst. Institute General Education Sripatum University The purpose of the research were to : study factors effecting to undergraduate students having probation conditions and find the ways to manage it or plans to reduce the number of probation condition students. The population in studying was undergraduate students in Bangkok. The samples consisted of 1,100. The instruments used were to query statistics about 5 levels. The statistics were tested: (1) Pearson Correlation coefficient, (2) Multiple Regression Analysis. The research results were as follows: Factors provide students with probation conditions include : achievement motivation economy of family sociability of family and basic knowledge before entering to study there were influencing students with statistically significant effects at .05 level, The four factors could explain the variation of the students were statistically significant by F = 17.141 , P = 0.000 , which is less than 0.05 . Four independent variables relationship with Students probation condition, 24.3 percent and Four independent variables can explain the variable student was 5.90 percent . Can be written as The model is as follows:รายการ ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาปริญญาตรีในเขต กรุงเทพมหานครมีสภาพรอพินิจ(2557-12) อำนาจ วังจีน; Amnart Vangjeenการศึกษาเรื่อง “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครมีสภาพรอพินิจ” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีสภาพรอพินิจ ตลอดจนแนวทางในการจัดการหรือวางแผนลดจำนวนนักศึกษาที่มีสภาพรอพินิจ ประชากรในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,100 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การทดสอบไคว์-สแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างผลการวิจัย พบว่าระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับสภาพของนักศึกษา นักศึกษารอพินิจมีปัญหาเรื่องการปรับตัวในการเรียนระบบมหาวิทยาลัย ความรู้ความสามารถในวิชาพื้นฐานก่อนเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีวินัยในการเรียน ติดเกมส์ ติดสังคมออนไลน์ การมีส่วนร่วมในสังคมมหาวิทยาลัย การเรียนในวิชาพื้นฐานหลักสูตร และเรียนในหลักสูตรที่ไม่ตรงกับความสามารถของตนเอง ปัจจัยเหตุที่เป็นผลของปัจจัยทั้ง 8 ปัจจัยมีอิทธิพลต่อสภาพนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าอิทธิพลเท่ากับ .28 และสามารถอธิบายได้ร้อยละ 8.0 โดยเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาเอก และเกรดเฉลี่ย สะสมวิชาพื้นฐานมีอิทธิพลต่อสภาพนักศึกษาเท่ากับ .45 และ .51 ตามลำดับ ปัจจัยทั้ง 8 ได้แก่ 1) ความรู้พื้นฐานทางวิชาการก่อนเข้าศึกษา 2) สภาพแวดล้อมทางสังคมภายในมหาวิทยาลัย 3) สภาพแวดล้อมทางสังคมภายนอกมหาวิทยาลัย 4) เศรษฐกิจ ของครอบครัว 5) สภาพทางสังคมของครอบครัว 6) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 7) หลักสูตร และ 8) การจัดการเรียนการสอนมีอิทธิพลต่อปัจจัยเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยสาเหตุที่มีค่าสัมประสิทธิ์สูงที่สุด ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางสังคมภายในมหาวิทยาลัยมีค่าเท่ากับ .34 รองลงมาเป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมภายนอก มีค่าเท่ากับ .32 สภาพทางสังคมของครอบครัวมีค่าเท่ากับ .29ส่วนตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์น้อยที่สุด คือ การจัดการเรียนการสอน มีค่าเท่ากับ .008 แนวทางในการจัดการหรือวางแผนลดจำนวนนักศึกษาที่มีสภาพรอพินิจ ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมเสริมทางวิชาการ 2) การส่งเสริมให้ผู้สอนนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน 3) การพัฒนาผู้สอนให้มีความรู้ความสามารถใน การสอนมากขึ้น 4) การปรับปรุงระบบการวัดผลประเมินผลให้มีความยืดหยุ่นและมีความหลากหลายมากขึ้น 5) มีการจัดให้ มีอาจารย์ที่ปรึกษาดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด 6) การส่งเสริมให้อาจารย์มีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน