กำลังเรียกดู โดย ผู้เขียน "Dhanapon Somwang"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 19 ของ 19
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ 37 ปี “มองอเมริกา มาแก้ปัญหาไทย” ทบทวนทิศทางสังคมไทย ในมุมมองสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-08-01) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangธรรมนิพนธ์เรื่องมองอเมริกา มาแก้ปัญหาไทย เป็นหนังสือขนาดเล็ก จำนวน 136 หน้า และมีการตีพิมพ์จำนวนหลายครั้ง เป็นงานที่รวบรวมคำบรรยายสองเรื่องของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชวรมุนี คือ เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2525 ท่านได้รับอาราธนาให้บรรยายเรื่อง “พุทธธรรมกับการแก้ปัญหาการศึกษาของไทยในอนาคต” ในวันคล้ายวันสถาปนาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2526 ได้รับอาราธนาจากสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติให้บรรยายเรื่อง “พระพุทธศาสนาจะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างไร” ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่สอดคล้องกันและกัน ต่อมาในปี 2530 Grant A.Olson แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ “Looking to America to Solve Thailand Problems” (94 หน้า) แม้จะตีพิมพ์มาเป็นเวลานาน แต่เนื้อหาในการนำเสนอและวิเคราะห์ยังมีความทันสมัยต่อสังคมไทยในปัจจุบันรายการ The Creation of a Peace Culture for the 21 st Century A Perspective of Phra Dhammapitaka (P.A.Payutto)(2555-09-04T03:10:59Z) Dhanapon Somwangabstract of a paper presented in the Thirteenth Conference of the International Association of Buddhist Studies (IABS), Organized by Chulalongkorn University, Decempber 8-13, 2002.รายการ Looking at America through Buddhist Wisdom(2555-09-04T04:44:41Z) Dhanapon Somwangabstract for present at 10 th international conference on Thai Studies, Thammasat Universityรายการ Looking at America through Buddhist Wisdom(2551-02-11T13:02:09Z) Dhanapon Somwangabstract for present at 10 th international conference on Thai Studies, Thammasat Universityรายการ Looking at America to Turn Back Modernizing Thai Society(2555-09-03T04:38:07Z) Dhanapon SomwangVenerable Phra Brahmagunabhorn (Prayudh Payutto)is widely acknowledged and respected in Thiland, especially among Buddhist scholars and intellecturals of almost all spheres, as the author of Buddhadhamma and for his profound insight on how to apply Buddhist teachings to the world civilization and concrete modern problems...รายการ Looking at America to Turn Back Modernizing Thai Society(2551-02-15T11:10:18Z) Dhanapon Somwangpaper presented in South and Southeast Asian Association for the Study of Culture and Religion (SSEASR)on "Syncretism in South and Southeast Asia : Adoption and Adaptation" at Mahidol University, Thailand, May 24-27, 2007รายการ Thai children learning reform With a philosopher's heart(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-08-19) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangหลักหัวใจนักปราชญ์ เป็นหลักสำคัญในทางพระพุทธศาสนาที่จะสร้างบุคคลให้เป็นพหูสูต คือบุคคลที่เป็นผู้มีการศึกษาเล่าเรียนมาก มีประสบการณ์มาก มีความรู้มาก เป็นผู้คงแก่เรียนหรือที่เรียกว่าเป็นนักปราชญ์นั่นเอง การเป็นนักปราชญ์จึงต้องมีหัวใจนักปราชญ์ ดังภาษาบาลีว่า “สุ.จิ.ปุ.ลิ วินิมุตฺโต กถํ โส ปณฺฑิโต ภเว. บุคคลผู้ปราศจากจากการฟัง การคิด การถาม และการเขียนแล้ว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร” การปฏิรูปเด็กไทย จึงสามารถนำเอาหลักหัวใจนักปราชญ์มาใช้ในสังคมปัจจุบันได้รายการ THE PRIORITIZATION OF SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS (SDGS) AMONG STUDENT OF SRIPATUM UNIVERSITY IN THAILAND(Kasetsart Business School, Kasetsart University., 2566-02-24) Dhanapon Somwang; ธนภณ สมหวังThe Sustainable Development Goals (SDGs) are a universal action to ensure peace and prosperity by 2030 by rising to meet various challenges. Achieving the SDGs requires every party to take part, including unversity students This research aimed to study prioritization of SDGs and identify knowledge, perceptions and awareness about the SDGs among students at Sripatum Univesity in Thailand. The research instrument is divided into 2 parts: 1) priority level 17 goals of SDGs 2) Opinions about knowledge, perceptions and awareness. The data was collected using online questionnaire from 125 first-year students from 2 clusters. Statistics used in data analysis were frequency, percentage and standard deviation. The result showed that most of the respondents were male, 83 people of 66.4%. The age range is 18 -21 years old, 94 people, representing 75.2%. Clusters are science and engineer of 53 people accounted for 42.4% and social science of 72 people accounted for 57.6%. The top 5 SDGs according to mean were SDg4: Quality Education (mean = 4.51), SDG13: Climate Action (mean = 4.50 ), SDG3: Good Health and Well-Being (mean = 4.49), SDG8: Decent Work and Economic Growth(mean = 4.47), SDG5: Gender Equality (mean = 4.33). Of the total respondents, They believed that it is necessary to know about the SDGs 91.2 %, to perceive 92.0% and to aware 93.6%.รายการ Theravada Buddhist Monk and the Making of Modern Thai Society with Special Reference to Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto)(2551-02-11T07:45:37Z) Dhanapon Somwangabstract of article presented at University of the Thai Chamber of Commerce, Thailand in "the 2 nd Language in the Realm of Social Dynamics international conference 2008"รายการ Theravada Buddhist Monk and the Making of Modern Thai Society with Special Reference to Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto)(2555-09-04T05:08:04Z) Dhanapon Somwangรายการ การนำเสนอพุทธธรรมในฐานะรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(สมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning), 2562-10-02) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangบทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวความคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการนำเสนอพุทธธรรมเพื่อเป็นรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้เพียรพยายามที่จะนำเสนอหลักพุทธธรรมที่ตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ให้เป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับสังคมไทยสมัยใหม่ ผ่านงานนิพนธ์ที่สำคัญของท่าน คือ พุทธธรรม ที่ว่าด้วยกฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต ซึ่งนำเสนอเป็นสองภาค คือมัชเฌนธรรมหรือหลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ และภาคที่สอง หลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือข้อปฏิบัติที่เป็นกลางตามกฏธรรมชาติ เพื่อตอบคำถามว่าชีวิตคืออะไร ชีวิตเป็นอย่างไร ชีวิตเป็นไปอย่างไร ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ซึ่งเป็นการนำเสนอแก่นคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา ทั้งหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขา อริยสัจ 4 กรรม ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน การนำเสนอหลักพุทธธรรม จึงไม่เพียงการเสนอกระบวนทัศน์แบบพุทธเพื่อให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทยสมัยใหม่เท่านั้น หากแต่ยังเป็นการนำเสนอเพื่อจะแก้ไขปัญหาของสังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบัน The purpose of this article is to study the viewpoints of Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A.Payutto) on the presentation of Buddhadhamma for the foundation of modern Thai society. The result of this study shows that Somdet Phra Buddhaghosacariya Diligently tried to present the Buddhadhamma as the foundation for modern Thai society through his the magnum opus is the Buddhadhamma on natural laws and values for life. He presented two main parts of Buddhism namely (1) the principles concerning the truth which is the core of nature, and (2) the middle path, or the way of practice to reach the ultimate truth. To answer the question of what is life ? How is life ? How should life be? How should life be?. Which is an important presentation of Buddhism Including the doctrine of the Threefold Truth, the Four Noble Truths, Karma, the Volitional Deeds and the Nirvana. The presentation of Buddhadhamma or the Buddhist doctrine is therefore not only the presentation of the Buddhist paradigm to be the basis of modern Thai society. But it is also a proposal to solve the problems of Thai society and global society in the present day.รายการ การบูรณาการพุทธธรรมเพื่อพัฒนาสังคมไทย : แนวความคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(Sripatum University, 2561-12-20) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangบทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาสังคมไทย โดยการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารที่เป็นผลงานของท่าน ผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เห็นว่าสังคมไทยมีความโน้มเอียงในการพัฒนาประเทศตามแบบอย่างสังคมตะวันตก และวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน อยู่ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ที่ได้สร้างสภาพการณ์ใหม่ๆ ให้กับบุคคลและสังคมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในขณะเดียวกัน ก็ก่อให้เกิดภาวะผกผัน เป็นโลกแห่งความย้อนแย้งกันอยู่ในตัว สภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน จึงไม่ได้เผชิญหน้ากับปัญหาอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์อันเป็นเรื่องของยุคสมัยเท่านั้น หากแต่ยังเผชิญกับปัญหารุนแรงที่เป็นพื้นฐานของปัญหาโลกทั้งหมด คือ รากฐานความคิดหรือกระบวนทัศน์ที่ผิดพลาด (มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งครอบงำอารยธรรมของมนุษย์ในปัจจุบัน 3 ประการ คือ การมองเพื่อนมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ มีฐานะเป็นเจ้าของผู้สามารถครอบครอง และพิชิตธรรมชาติได้ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดพลาดนำไปสู่วิกฤตการณ์ของมนุษย์และสังคมในปัจจุบัน ท่านจึงนำเสนอว่า การพัฒนาสังคมไทย นอกจากจะต้องเข้าถึงพื้นฐานของสังคมไทย และมีความรู้ความเข้าใจ รู้เท่าทันความเป็นไปของกระแสโลกาภิวัตน์แล้ว หลักพุทธธรรมหรือหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ก็ควรเป็นหลักพื้นฐานในการพัฒนาสังคมไทย ที่จะสร้างสรรค์ความผสมกลมกลืน และสร้างดุลยภาพแห่งชีวิตของบุคคล ทั้งในด้านพฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญา ในขณะเดียวกันก็จะเชื่อมโยงชีวิตที่ดีงามเข้ากับธรรมชาติแวดล้อม และสังคมอย่างยั่งยืนรายการ ธรรมฉันทะ : ความอยากที่หายไปในมุมมองสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-10-07) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้นำมาอธิบายและเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญเสมอ คือ หลักฉันทะหรือธรรมฉันทะ เพราะท่านเห็นว่า เป็นหลักธรรมที่เป็นรากฐาน หรือเป็นรากเหง้า ต้นตอ หรือแหล่งที่มาของคุณธรรมอื่น ๆ ในทางพระพุทธศาสนา ดังท่านอ้างพุทธพจน์ว่า “ฉนฺทมูลกา ... สพฺเพ ธมฺมา ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล” แต่ในปัจจุบันได้พร่ามัว และเลือนหายไปในสังคมไทยรายการ พุทธทัศนะเพื่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2565-03-19) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangบทความนี้ ผู้เขียนต้องการศึกษาถึงทัศนะของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการนำเสนอหลักพุทธธรรมเพื่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่ โดยศึกษาวิเคราะห์ผ่านงานนิพนธ์สำคัญของท่าน ผลการศึกษาพบว่า ผลงานหลักของท่านนอกเหนือจากการนำเสนอหลักพุทธธรรมที่บริสุทธิ์ ท่านยังได้วิเคราะห์ถึงแก่นแท้ของสภาพปัญหาของสังคมไทย ที่ได้พัฒนาประเทศไปสู่ความเจริญสมัยใหม่ตามแบบอย่างสังคมตะวันตก จนปัจจุบันนี้สังคมไทยตกอยู่ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ สังคมไทยในปัจจุบันจึงไม่ได้เผชิญหน้ากับปัญหาอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ อันเป็นเรื่องของยุคสมัยเท่านั้น หากแต่ยังเผชิญกับปัญหารุนแรงที่เป็นพื้นฐานของปัญหาทั้งหมด อันสืบเนื่องมาจากอารยธรรมตะวันตก นั่นคือ รากฐานความคิดหรือกระบวนทัศน์ที่ผิดพลาด(มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งครอบงำอารยธรรมของมนุษย์ในปัจจุบัน 3 ประการ คือ การมองเพื่อนมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ โดยมีฐานะเป็นเจ้าของผู้สามารถครอบครองและพิชิตธรรมชาติได้ การมองเพื่อนมนุษย์แบบแบ่งแยก และการมองจุดมุ่งหมายชีวิตของมนุษย์ว่า จะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อมีวัตถุเสพบำเรอ ท่านจึงนำเสนอกระบวนทัศน์แบบพุทธเพื่อให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ อันมีสาระสำคัญอยู่บนพื้นฐานที่ว่า สรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงอิงอาศัยกันและกัน โดยต่างเป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกันและกัน ซึ่งจะสร้างสรรค์ความผสมกลมกลืน และสร้างดุลยภาพแห่งชีวิตของบุคคลทั้งในด้านพฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญา ในขณะเดียวกันก็จะเชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน ทัศนะของท่านจึงเป็นแนวทางสำคัญอย่างหนึ่งต่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่The purpose of this article is to study the Buddhist viewpoints of Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A.Payutto) on the presentation and application Buddhadhamma for renewing modern Thai society by studying and analyzing through his important works. The result of this study shows that his main works, in addition to presenting the Buddhadhamma and also analyzed the essence of the problems of Thai society, that has developed the country into a modern civilization according to western society. Until now, Thai society is under the era of globalization. Therefore, Thai society today is not confronting problems due to globalization alone, which is only a matter of the era, but critical problem which is the basis of all other human problems, resulting from western civilization, that is “the problem of wrong basis of thoughts” or “the wrong paradigm”. He indicated that now culture is based on the belief that human is superior to nature, can overcome and control nature. Therefore, human can control, manage and consume nature. This wrong belief leads to the crisis of human and society in today. The world, now, is global and borderless but human’s mind is not. He has presented his Buddhist views with a Buddhist paradigm. Its essence is based on to see the truth that all things are related as cause and effect (dependent origination). In his opinion, the Buddhist paradigm will create a balance between body, mind, society and nature. It will lead to integration to make the sustainable and stable solution for man, society, and nature. His Buddhist viewpoint is alternative solution for renewing modern Thai society.รายการ รักธรรม เพื่อรักษ์ไทย ธรรมทัศน์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-01-10) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangสมเด็จพระพุทธโฆษาจาารย์ได้นำเสนอ “วัฒนธรรมพุทธ” หรือ “วัฒนธรรมพุทธศาสตร์” เป็นตัวแบบในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมใหม่สำหรับสังคมไทย เพื่อเป็นการรื้อฟื้นวัฒนธรรมแบบพุทธขึ้นมา หรือเป็นการปรับปรุงวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมอุตสาหกรรม ที่กำลังครอบงำโลกอยู่ในปัจจุบันนี้รายการ สงฆ์ : พุทธนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน(มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2566-06-26) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangบทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวความคิดเรื่องสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงจัดตั้งขึ้นมา ในฐานะนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดเรื่องการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแนวความคิดที่มีความสำคัญในสังคมปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะสังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงจัดตั้งชุมชนสงฆ์ขึ้นมาครั้งแรก เพื่อเป็นชุมชนที่มีเป้าหมายในการพัฒนาบุคคลให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และให้เป็นชุมชนแบบอย่างในการเรียนรู้ที่ยั่งยืน โดยทรงวางระเบียบวินัยและหลักธรรมต่างๆ การพัฒนาสังคมในปัจจุบันเพื่อก้าวไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงสามารถนำเอาแนวคิดและหลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ในชุมชนสงฆ์มาประยุกต์ใช้กับสังคมในปัจจุบัน The purpose of this article is to study the concept of the sangha in Buddhism, which was established by Lord Buddha as an innovative approach to sustainable learning. The research findings indicate that the concept of sustainable learning and lifelong learning is highly significant in today's society, which is a learning society that aligns with the concept of Sangha in Buddhism. Lord Buddha established the Sangha as the first monastic community with the goal of developing individuals into lifelong learners and serving as a model community MCU Congress 4th “Buddhism Innovation to Promote Sustainable Development" 199 for sustainable learning. The Sangha established discipline and moral principles to develop its members into individuals of learning and enable them to go out and develop other individuals, communities, or societies as learning entities. The current societal development towards becoming a learning society can therefore benefit from the teachings and principles laid down by Lord Buddha within the Sangha community, focusing on lifelong learning and sustainable learning.รายการ สงฆ์ : แบบอย่างองค์กรแห่งการเรียนรู้(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangบทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวความคิดเรื่องสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อบูรณาการกับแนวความคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ในสังคมปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงจัดตั้งองค์กรสงฆ์ขึ้นมาเพื่อเป็นองค์กรหรือชุมชน ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาบุคคลให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และให้เป็นองค์กรแบบอย่างในการเรียนรู้ โดยทรงวางระเบียบวินัยและหลักธรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสมาชิกสงฆ์ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และสามารถออกไปพัฒนาบุคคลอื่น ชุมชนหรือสังคมให้เป็นบุคคลหรือสังคมแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาองค์กรในปัจจุบัน เพื่อไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จึงสามารถนาเอาแนวคิดและหลักคาสอนที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ในองค์กรสงฆ์ มาประยุกต์ใช้กับองค์กรในปัจจุบันได้ โดยเน้นหัวใจของการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้คือ การพัฒนาบุคคลในองค์กรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไปThe purpose of this article is to study the conception of the sangha in Theravada Buddhism To integrate with the concept of a learning organization in today's society. The study found that the concept of a learning organization is consistent with the concept of the sangha in Theravada Buddhism. The Buddha established the sangha as an organization or community with the goal of developing the person to be a learning person and to be a model organization for learning by laying out various disciplines and the teachings in order to develop members of sangha to become learning person and can go out to develop other people community or society as a person or a learning society. Organization development to become a learning organization in today, therefore, the ideas and doctrines in Buddhism that the Lord Buddha has placed in the Sangha Organization can be applied to the current organization with emphasis on the development of a learning organization. The development of members in the organization to be a learning person in order to continue to develop the society into a learning society.รายการ สถาบันสังฆ์กับสังคมไทย : ข้อพิจารณาของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2561-08-06) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มีข้อพิจารณาว่า สถาบันสงฆ์มีความสำคัญต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากอดีตที่มีบทบาทต่อสังคมไทยในด้านต่าง ๆ แต่ในปัจจุบัน สถาบันสงฆ์เริ่มสูญเสียบทบาท การที่จะดำรงสถาบันสงฆ์ให้คงอยู่และกลับมามีบทบาทและคุณค่าต่อสังคมสมัยใหม่นั้น ท่านเห็นว่า พระสงฆ์และสถาบันสงฆ์จะต้องแสดงออกถึงบทบาท หน้าที่และภารกิจของสถาบันสงฆ์ให้ชัดเจน เป็นบทบาทที่จะสามารถนำพาชีวิตของผู้คนและสังคมในปัจจุบันไปสู่ความดีงามตามหลักแห่งพระพุทธศาสนาได้รายการ โควิด อโคจร อนาคตของสังคมไทย(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2564-07-13) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ในแต่ละระลอกที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในวงกว้างนั้น เป็นคลัสเตอร์การแพร่ระบาดจากแหล่งอโคจรเกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสนามมวย บ่อนไก่ บ่อนการพนัน แหล่งบันเทิง กิจกรรมรื่นเริง และแคมป์คนงานที่กำลังแพร่หลายและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางอยู่ในปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดจากสถานที่อโคจรนี้ มาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ความอ่อนแอของมาตรการทางด้านกฎหมายและทางด้านสาธารณสุข ประการที่สอง ความอ่อนแอทางด้านจริยธรรม คือ การขาดสำนึกรับผิดชอบทั้งต่อชีวิตของตัวเองและความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม การควบคุมการระบาดจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งสองประการนี้ ไม่เช่นนั้นแล้ว สังคมไทยก็คงจะประสบกับปัญหาการระบาดอย่างรุนแรง จนกลายเป็นสังคมที่เป็นอโคจรในที่สุด