กำลังเรียกดู โดย ผู้เขียน "Wannee Ngamcachonkulkid"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การศึกษาสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานเพื่อสร้างโมเดลกรอบมาตรฐานวิชาชีพผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) วรรณี งามขจรกุลกิจ; Wannee Ngamcachonkulkidการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและกำหนดสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานอาชีพผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และเพื่อสร้างโมเดลสำหรับกรอบมาตรฐานวิชาชีพตามสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) แบบเชิงปริมาณและแบบเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยวิธีการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group interview) กับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 34 คนที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานจัดอบรมผู้ประกาศฯ บุคลากรผู้ทำหน้าที่ผู้ประกาศ พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ นักวิชาการ นักวิชาชีพในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และนำคำตอบที่ได้ไปดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณโดยสร้างเครื่องมือแบบประเมินระดับความสำคัญสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Competency and Performance Criteria) ผู้ประกาศฯ เพื่อการสร้างโมเดลสำหรับเป็นกรอบมาตรฐานวิชาชีพการเป็นผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผลการสนทนากลุ่ม พบว่าส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ความรู้และทักษะการใช้ภาษา ทักษะการสื่อสาร การอ่านออกเสียงและอักขรวิธีที่ถูกต้อง ส่วนของทัศนคติของผู้ประกาศนั้นต้องมีความเป็นกลาง คิดบวก สร้างสรรค์สังคม และการรู้เท่าทันสื่อในฐานะคนที่ทำงานสื่อสารมวลชน ส่วนผลวิจัยเกี่ยวกับระดับความสำคัญของสมรรถนะและเกณฑ์ปฏิบัติงาน พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมที่มีค่าคะแนนสูง 3 อันดับ ได้แก่ 1. ความสำคัญของสมรรถนะและเกณฑ์ปฏิบัติงานด้านความรู้ ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณ ความรับผิดชอบต่อสังคม 2. ความสำคัญของสมรรถนะและเกณฑ์ปฏิบัติงานเกี่ยวกับทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 3. ความสำคัญของสมรรถนะและเกณฑ์ปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านทัศนคติในการทำงานอาชีพผู้ประกาศรายการ ถึงเวลาหรือยังกับการยกระดับมาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ……ผู้ประกาศไทย ???(หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์, 2564-01-15) วรรณี งามขจรกุลกิจ; Wannee Ngamcachonkulkidมาตรฐานความเป็นสื่อมืออาชีพมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะวิชาชีพที่ส่งผลต่อประเทศ สังคมส่วนรวม คือ อาชีพผู้ประกาศ จัดเป็นกลุ่มสาขาวิชาชีพที่ควรได้รับการรับรองมาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ นอกจากการได้รับบัตรผู้ประกาศ ซึ่งก็ยังเป็นคำถามในใจผู้ประกาศทั้งหลายว่า บัตรผู้ประกาศที่ได้รับมานั้นมีศักดิ์และสิทธิเหมือนอย่างวิชาชีพแพทย์ พยาบาล สถาปนิกวิศวกร ครู นักบัญชี ที่มีการรับรองโดยสภาวิชาชีพหรือไม่ อย่างไรบ้าง เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นความสำคัญของการสร้างกรอบมาตรฐานวิชาชีพให้ผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ให้เป็นอาชีพที่มีการรับรองตามคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อเป็นกรอบแนวปฏิบัติการเข้าสู่วิชาชีพการเป็นผู้ประกาศอย่างมีศักยภาพและคุณภาพตามมาตรฐานทางวิชาชีพ ซึ่งแสดงถึงความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้มาตรฐานระดับชาติหรือนานาชาติ มีเกณฑ์การไต่ระดับตามมาตรฐานอาชีพเพื่อเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพ