ARC-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ARC-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การก่อสร้าง"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การนำธรรมาภิบาลมาใช้ในโครงการก่อสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) พงศกร ศรีสุวรรณการศึกษาเรื่อง “การนำธรรมาภิบาลมาใช้ในโครงการก่อสร้าง : ศึกษากรณี องค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานโครงการการสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อภายใต้การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลและเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลชำอ้อ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ความสุจริต ความมีประสิทธิภาพและความมีประสิทธิผลตอบสนองความต้องการของประชาชนในเขตพิ้นที่ได้อย่างเต็มที่ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์ ผู้บริหารจำนวน 1 คน ข้าราชการประจำ จำนวน 2 คน ผู้ปกครองท้องที่ จำนวน 3 คนและประชาชนผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ มีการบริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยได้ปฏิบัติตามแนวทางหลักพื้นฐาน 6 ประการ ของหลักธรรมาภิบาล โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ร่วมแสดงความคิดเห็น ปัญหาและอุปสรรค พบว่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องในบางเรื่องยังล้าสมัยไม่ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบันทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้ภาพที่ออกไปสู่สาธารณชนนั้น มองว่าองค์การบริหารส่วนตำบลไม่ได้ให้ความเป็นธรรม ข้อเสนอแนะการสร้างธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อต้องได้รับความร่วมมือจากพนักงานส่วนตำบล ส่วนราชการอื่นๆที่เเกี่ยวข้อง ชุมชน โดยมีการอบรมหลักธรรมาภิบาล อบรมการปฏิบัติงานในสายวิชาชีพของพนักงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานถูกต้องแม่นยำ ปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรม ในภาคประชาชนนั้นต้องมีการจัดประชุมทั้งประธานชุมชน ประชาชนในเขตพื้นที่สม่ำเสมอ เพื่อชี้แจงการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนในการตรวจสอบด้านความโปร่งใสขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้ออีกทางหนึ่งด้วยรายการ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบานปลายของงบประมาณการก่อสร้างบ้านพักอาศัยประเภทสร้างเอง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ปาริชาต ศรีมงคลการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบานปลายของงบประมาณการก่อสร้างบ้านพักอาศัยประเภทสร้างเองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยสัมภาษณืจากกลุ่ม เจ้าของบ้านพักอาศัยประเภทสร้างเองที่มีราคาค่าก่อสร้าง 5-15 ล้านบาท และจากสถาปนิกและผู้รับเหมา จำนวนกลุ่มตัวอย่างละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ รวมถึงการจัดกลุ่มและสรุปภาพรวมของข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการบานปลายของงบประมาณ คือ ผู้ออกแบบขาดประสบการณ์ และมีการออกแบบไม่ละเอียด ทำให้ประเมินค่าก่อสร้างบ้านพักอาศัยต่ำกว่าความเป็นจริงและประเมินราคาได้ไม่ครบถ้วน ทำให้ต้องเพิ่มงบประมาณในภายหลัง การกำหนดงบประมาณในการตกแต่งบ้านไว้น้อยเกินไปโดยส่วนใหญ่กำหนดไว้เพียงร้อยละ 20 ของงบประมาณก่อสร้างบ้าน การที่ไม่มีการทำสัญญาจ้างกับผู้รับเหมารายย่อย การที่เจ้าของบ้านพักอาศัยเข้าไปทำการเลือกซื้อวัสดุเอง ทำให้ขาดการคำนึงถึงงบประมาณที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นราคาค่าวัสดุตามที่ออกแบบมีราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากที่ได้ประเมินราคาไว้เมื่อเวลาเปลี่ยนไป การที่เจ้าของบ้านพักสั่งเพิ่มงานก่อสร้างมากกว่าแบบที่กำหนดไว้เช่น มีการขยายพื้นที่บ้านเพิ่ม หรือเปลี่ยนแปลงแบบ และการก่อสร้างประสบอุปสรรคจากปัญหาสภาพภูมิอากาศรายการ การศึกษาปัญหาการควบคุมต้นทุนการก่อสร้างให้เป็นไปตามบัญชีตารางแสดงปริมาณและราคาต่อหน่วย กรณีศึกษา บริษัท คิว เอส คอนส์ จำกัด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) จักรพงษ์ ตันศิริการวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงปัญหาการควบคุมต้นทุนการก่อสร้างให้เป็นไปตามบัญชีแสดงปริมาณและราคาต่อหน่วยของบริษัท คิว เอส คอนส์ จำกัด โดยการใช้ข้อมูลจากโครงการที่บริษัท ทำการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 4 โครงการ ซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างระหว่าง 15 ล้านบาท ถึง 50 ล้านบาท ช่วงระหว่างเวลาในการก่อสร้างอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม 2552 ถึง ตุลาคม 2554 โดยการจัดเก็บข้อมูลจากเอกสารทางบัญชีมาเปรียบเทียบกับข้อมูลจากบัญชีตารางแสดงปริมาณและราคาต่อหน่วย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำผลต่างจากการเปรียบเทียบไปหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสอบถามและสัมภาษณ์ ฝ่ายก่อสร้างและฝ่ายออกแบบประเมินราคาในด้านการวางแผนและบริหารจัดการวัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้าง ฝ่ายจัดซื้อในด้านกระลวนการหาจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง จากผลการวิจัยพบว่ามีถึง 2 โครงการที่มีปัญหาทางด้านการวางแผนและการบริหารจัดการวัสดุอุปกรณืก่อสร้าง ส่วนทางด้านกระบวนการจัดหาจัดซื้อถือว่ายังไม่พบปัญหาจากโครงการที่ทำการศึกษาในครั้งนี้