GRA-06. ผลงานวิจัย
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GRA-06. ผลงานวิจัย โดย เรื่อง "การขอปล่อยตัวชั่วคราว"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการไม่ปล่อยตัวชั่วคราวเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน(2555) สุมน ถนอมเกียรติการศึกษาวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการไม่ขอปล่อยตัวชั่วคราวเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การไม่ขอประกันตัวของเด็กและเยาวชน ศึกษาถึงความคิดเห็นและความพึงพอใจของบิดามารดา ผู้ปกครอง ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด เกี่ยวกับมาตรการประกันตัว ศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นปัญหา อุปสรรค แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาและอุปสรรค กำหนดและพัฒนาระบบการประกันตัวต่อการขอปล่อยตัวชั่วคราว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นตำรวจจำนวน 73 คน เจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจำนวน 119 คน บิดามารดาหรือผู้ปกครองเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดจำนวน 155 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 347 คน โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์การไม่ขอปล่อยตัวชั่วคราวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดทั่วประเทศ ปี 2547 เด็กและเยาวชนที่ขอปล่อยตัวชั่วคราวคิดเป็นร้อยละ95.02 และไม่ขอปล่อยตัวชั่วคราวคิดเป็นร้อยละ 4.98 ปี2548เด็กและเยาวชนที่ขอปล่อยตัวชั่วคราวคิดเป็นร้อยละ94.89 และไม่ขอปล่อยตัวชั่วคราวคิดเป็นร้อยละ 5.11 ความคิดเห็นและความพึงพอใจของบิดามารดา ผู้ปกครอง ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด เกี่ยวกับมาตรการการประกันตัวพบว่า บิดามารดา ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมาตรการการประกันตัวในด้านนโยบาย วิธีการปล่อยชั่วคราว หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราว หลักเกณฑ์ในการพิจารณาสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว เงื่อนไข ผู้มีสิทธิ์ยื่นคำขอปล่อยชั่วคราว หลักฐานเอกสารประกอบกับการยื่นขอปล่อยชั่วคราว การมอบอำนาจ การใช้หลักทรัพย์ หลักประกัน วิธีการดำเนินการขอปล่อยชั่วคราว การกำหนดจำนวนเงินที่ต้องชำระในกรณีผิดสัญญาประกัน และการถอนหลักประกัน สำหรับด้านอัตราค่าประกันตัวเด็กและเยาวชน บิดามารดา ผู้ปกครองเด็กและเยาวชน ส่วนใหญ่ยังไม่พอใจ ความคิดเห็นของบิดามารดา ผู้ปกครอง ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด เกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว หลักเกณฑ์การปล่อยตัวชั่วคราวพบว่า ในภาพรวมมีความเห็นด้วยมากที่สุด ความคิดเห็นของตำรวจและเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด เกี่ยวกับมาตรการการประกันตัวส่วนใหญ่เห็นด้วย ปัจจัยที่เป็นปัญหา อุปสรรค ในการไม่ขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยปัจจัยเป็นที่เป็นปัญหาอุปสรรคตามความคิดเห็นของบิดามารดา ผู้ปกครอง คือปัจจัยด้านตัวเด็กและเยาวชน ปัจจัยด้านคดีเช่น ความรุนแรงของคดี และปัจจัยด้านฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ตามลำดับ ปัจจัยที่เป็นปัญหา อุปสรรคต่อการไม่ปล่อยตัวชั่วคราวในภาพรวมพบว่า ปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรคอยู่ระดับมากที่สุดได้แก่ ปัจจัยด้านหลักเกณฑ์ในการขอปล่อยชั่วคราว ปัจจัยด้านเงื่อนไขสัญญาประกัน และปัจจัยด้านประเภทคดีที่กระทำผิด ตามลำดับ ความคิดเห็นของตำรวจและเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด เกี่ยวกับผลกระทบในภาพรวมต่อการไม่ขอปล่อยตัวชั่วคราว พบว่า ส่งผลกระทบในระดับมาก โดยส่งผลกระทบต่อกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนและสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดและสถานแรกรับ รองลงมาส่งผลกระทบต่อชุมชนและสังคม และผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ตามลำดับ แนวทางในการปรับปรุง แก้ไข ปัญหา อุปสรรคต่อการปล่อยตัวชั่วคราว พบว่า ด้านนโยบายกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรกำหนดนโยบายด้านการปล่อยตัวชั่วคราวให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ ด้านเด็กและเยาวชนควรให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรช่วยเหลือละควรสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อการกระทำผิดให้เด็กและเยาวชนที่ได้รับการพิจารณาขอปล่อยตัวชั่วคราว ด้านบิดามารดา ผู้ปกครอง ควรให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ความรู้ ความเข้าใจแก่บิดามารดา ผู้ปกครองเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว ด้านหลักฐานเอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวประเภทคดีที่กระทำผิด หลักเกณฑ์การขอปล่อยตัวชั่วคราว ควรปรับปรุงเกี่ยวกับเกณฑ์ในเรื่องคดีที่กระทำผิดให้ชัดเจน ประกอบการพิจารณาขอปล่อยตัวชั่วคราว ควรปรับเกณฑ์ในการขอปล่อยชั่วคราวสำหรับคดีที่กระทำผิดที่มีโทษสูงสุด โดยพิจารณาเกี่ยวกับประวัติและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนประกอบการขอปล่อยชั่วคราว หากมีประวัติและพฤติกรรมไม่มีเรื่องเสียหายร้ายแรง ก็ควรจะได้รับการพิจารณาให้ปล่อยชั่วคราว ด้านอัตราราคาประกันตัวเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาครอบครัว มีปัญหากับบิดามารดา ผู้ปกครองไม่มีที่อาศัย และสภาพแวดล้อมไม่เป็นคุณ ได้พักพิงชั่วคราวในระหว่างที่ได้รับการพิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราว ด้านกลุ่มมิจฉาชีพหรือแก๊งค์ มิจฉาชีพ ควรขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการสอดส่องดูแลเด็กและเยาวชน ด้านระบบและแนวทางในการขอปล่อยตัวชั่วคราว วิธีการปล่อยและขั้นตอนในการปล่อย กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบและแนวทางในการขอปล่อยชั่วคราว วิธีการปล่อยละขั้นตอนการปล่อยให้ใช้เวลาสั้นลงและลดขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อน ด้านการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนในการขอปล่อยชั่วคราว กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรจัดทำสื่อและเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนในการขอปล่อยชั่วคราว ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรปลูกจิตสำนึกให้กับเจ้าหน้าที่ในการทำงานกับเด็กและเยาวชน และผู้ปกครองในการให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆตลอดจนการขอปล่อยชั่วคราว การกำหนดและพัฒนาระบบการประกันตัวชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามความคิดเห็นของบิดามารดา ผู้ปกครอง เห็นด้วยมากที่สุดว่าเด็กและเยาวชนสามารถประกันตัวหรือขอปล่อยตัวชั่วคราวได้ตลอด 24 ชั่วโมง รองลงมาคือการยื่นขอประกันตัวเด็กและเยาวชนใช้เวลาประมาณ 30 นาที และผู้ปกครองหรือผู้ประกันต้องชำระเงินค่าประกันและทำใบนัดฟังคดีกับเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ธุรการคดี ตามลำดับ ตามความคิดเห็นของตำรวจและเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด เห็นด้วยมาก ว่าด้านบุคลากรบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ในการขอปล่อยชั่วคราว มีความตั้งใจปฏิบัติงานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ขอปล่อยชั่วคราวดี รองลงมาประเภทคดีที่กระทำผิด คดีบางประเภทที่ปล่อยชั่วคราวไปอาจเป็นอันตรายต่อสังคม และด้านบิดามารดา ผู้ปกครองควรได้รับคำปรึกษา เพื่อเข้าใจปัญหาของเด็กหรือเยาวชน ก่อนมอบตัวเด็กหรือเยาวชนกลับไป