GRA-06. ผลงานวิจัย
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GRA-06. ผลงานวิจัย โดย เรื่อง "ความผูกพันต่อองค์การ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความผูกพันและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ปิยากร หวังมหาพรการวิจัยแบบผสม เรื่อง ความผูกพันและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพัน ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี และระดับประสิทธิผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย ศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันของความผูกพัน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีและประสิทธิผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย ศึกษาความแปรปรวนของความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทยที่เกิดจากอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ศึกษาและยืนยันความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน ศึกษาปัญหาและอุปสรรคและเสนอแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย การวิจัยเชิงปริมาณรายการ คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม(วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจการวิจัยเรื่อง “คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ 3) ศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 4) ศึกษาความผูกพันต่อองค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็น พนักงานในระดับปฏิบัติการของสถานประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมและยินดีให้ข้อมูลจำนวน 373 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบที ทดสอบเอฟและการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนมีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัวและความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล การบูรณาการด้านสังคม ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัวและความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ความผูกพันต่อองค์การด้านการคงอยู่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน