SPU Thesis
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Thesis โดย เรื่อง "กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การศึกษากระบวนการธุรกิจของห่วงโซ่อุปทานในกิจการอาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็งโดยอาศัยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) หทัยรัตน์ ผ่องศรีในการทำวิจัยครั้งนี้ เพื่อที่จะศึกษาลำดับความสำคัญของกระบวนการทางธุรกิจของห่วงโซ่อุปทานในกิจการอาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็ง และลำดับความสำคัญของดัชนีวัดประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้มุมมองของผู้ที่ปฏิบัติงานในบริษัทที่ทำกิจการอาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็ง รูปแบบการวิจัยที่นำมาใช้ คือ การวิจัยแบบไม่ทดลอง(Non – experimental Design) เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อมุ่งเน้นการไปปรับปรุงและพัฒนากิจการอาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็ง ทั้งนี้ในการวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีโครงสร้าง เนื่องจากเป็นการสำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) ซึ่งคำนวณและบอกค่าความสอดคล้องของคะแนนที่ทำการประเมินในการให้คะแนนแทนส่วนการดำเนินการวิจัยจะทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างจากบริษัท ซี. พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด (กิจการอาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็ง) ในการให้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และสรุปผลด้วยโปรแกรม Microsoft Excel 2003 ซึ่งคำนวณและลำดับความสำคัญของกนะบวนการทางธุรกิจของห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับให้องค์กรนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิเคราะห์น้ำหนักความเรียงตามลำดับดังนี้: การพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (0.203) การจัดการการไหลของการผลิต (0.133) การจัดการบริการลูกค้า (0.123) การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (0.116) การจัดหา (0.113) การเติมเต้มคำสั่งซื้อของลูกค้า (0.112) การจัดการอุปสงค์ (0.102) การส่งสินค้าคืน (0.095) ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับองค์กรที่นำการจัดการห่วงโซ่อุปทานมาประยุกต์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสุงสุดแก่องค์กรรายการ ศึกษาปัจจัยความสำคัญของการจัดการคุณภาพโดยรวมในธุรกิจจัดซื้อและการประมูลออนไลน์โดยอาศัยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์(2551) สาธิต เดโชนันทกุลศึกษาและจัดลำดับความสำคัญปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จในการประยุกต์การจัดการคุณภาพในปัจจุบันโดยใช้ตัวขับเคลื่อนของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (SCM) มีดังนี้ 1. Facilities 2. Inventory 3. Transportation 4. Information 5. Sourcing 6. Pricing ซึ่งเชื่อมโยงไปในส่วนของการจัดการคุณภาพโดยรวมเฉพาะในปัจจุบันการจัดการคุณภาพเป็นที่นิยมและเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารที่ได้รับความยินยอมโดย ปัจจัยในการวัดและควบคุมมีดังนี้ 1. ด้านการนำองค์กร 2. ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 3. ด้านการมุ่งเน้นที่ลูกค้าและตลาด 4. ด้านการวิเคราะห์ข่าวสารและข้อมูล 5. ด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 6. ด้านกระบวนการในการจัดการ 7. ด้านผลลัพธ์ทางธุรกิจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ หรือ AHP (Analytic Hierarchy Process) เป็นกระบวนการที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่ซับซ้อน (Multiple Criteria Decision - Making) ให้มีความง่ายขึ้น โดยเลียนแบบกระบวนการตัดสินใจทางะรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นการจับคู่ตัวแปรต่างๆ เพื่อทำการเปรียบเทียบหาทางเลือกที่อุตสาหกรรมให้ความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง ผลที่ได้รับทำให้ทราบว่าองค์กรให้ความสำคัญกับ คุณภาพ (0.374) เป็นอันดับ 1 ต่อจากนั้นคือต้นทุน (0.246) ความยืดหยุ่น (0.195) และเวลา (0.185) ตามลำดับ จากผลที่ได้ทำให้องค์กรสามารถนำมาใช้ประโยชน์ประกอบในการวางแผนกลยุทธ์เป้าหมายของการจัดการคุณภาพโดยรวมและการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานเป็นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรได้เป็นดี