CAT-06. ผลงานวิจัย
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CAT-06. ผลงานวิจัย โดย เรื่อง "ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรค์ของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-12) ธนากร เอี่ยมปานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตามและภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างทุนจิตวิทยาเชิงบวกและภาวะผู้ตามกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชั้นปีที่ 1 - 4 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 167 คน มีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิของชั้นปีที่ 1 – 4 และการเลือกตัวอย่างด้วยแบบการสุ่มแบบง่ายซึ่งใช้วิธี การจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตาม และภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ความเชื่อมั่น ของค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ แบบมีขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตาม และภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ทุนจิตวิทยาเชิงบวกและภาวะผู้ตามมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ 3. ตัวแปรพยากรณ์ที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพและการทุ่มเทตนเอง ความกล้าหาญ ความหวัง และการรับรู้ความสามารถ ประสิทธิภาพของการพยากรณ์ โดยใช้ตัวแปรอิสระทั้งหมดที่อยู่ในสมการสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามได้ถูกต้อง ร้อยละ 77.2 ดังนั้น สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z = 0.396 (การเสริมสร้างศักยภาพและการทุ่มเทตนเอง) + 0.3 14 (ความกล้าหาญ) + 0. 134 (ความหวัง) + 0.144 (การรับรู้ความสามารถ) วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม สามารถนำผลจากการวิจัยในครั้งนี้มาใช้ในการบริหารการศึกษา โดยการวางแผน กำหนดนโยบาย ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนของหลักสูตร เป็นแนวทางในการออกแบบและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม