จิตวิทยา สภาพแวดล้อมเพื่อการศึกษา : การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและพื้นที่ สาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
กำลังโหลด...
วันที่
2561
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
แนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเกิดรูปทรงหรือที่ว่างทางสถาปัตยกรรม ล้วน มาจากปัจจัยด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมโดยตรง เช่น
สถานที่ เวลา บริบท และพฤติกรรม ซึ่งได้สนใจในการนำหลักการจิตวิทยาสภาพแวดล้อม และ
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมมาศึกษา และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
กับมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยนำเอารูปแบบหลักการที่ถูกต้อง มาใช้เป็นหลักการต้นแบบเพื่อน
ปรับปรุงและพัฒนามหาลัยในรูปแบบใหม่เพื่อตอบรับความต้องการของนักศึกษาและเศรษฐกิจ
ในอนาคาต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร
ได้ทา การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยศรีปทุมและสนใจ
เกี่ยวกับบทบาทระหว่างสถาปัตยกรรมกับพื้นที่ว่าง นามาซึ่งแนวคิดในการออกแบบพื้นที่ว่าง
และภูมิทัศน์ เช่น สวนสาธารณะ พื้นที่สี เขียวและพื้นที่สำหรับกิจกรรมสันทนาการ ดังนั้นการ
ออกแบบและคุณภาพในการปรับเปลี่ยนที่ว่าง กิจกรรม และบริบทแวดล้อม จึงมีความเชื่อม โยง
กับสถาปัตยกรรมในการมีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ว่างและภูมิทัศน์ และได้ทำ การวิเคราะห์พื้นที่และ
กิจกรรมของนักศึกษาโดยอิงจากหลักการและทฤษฎีต่างๆเช่น ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องของพื้นที่โล่ง
ว่าง ทฤษฎีการเชื่อมโยง แนวคิดทางกายภาพ ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมกับสภาพแวดล้อม
ความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่าง เป็นต้น ซึ่งหลักการออกแบบที่ได้มา จะเป็นทั้ง วิธีการแก้ปัญหา และ
เป็นแนวทางการออกแบบ
ศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับแนวคิดและแนวทางการออกแบบ
สถาปัตยกรรม สภาพแวดล้อม และ พฤติกรรม ให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะที่ว่างที่อยู่
ระหว่างกลาง บริเวณรอยต่อระหว่างสถาปัตยกรรมกับบริบท ที่สัมพันธ์กับกิจกรรม และ
พฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งนาไปสู่แนวทางการพัฒนารูปแบบและแนวคิดในการออกแบบ
สถาปัตยกรรม
คำอธิบาย
วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
คำหลัก
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ, พฤติกรรม
การอ้างอิง
ณัฐนิชา มะโนเรือง. 2561. "จิตวิทยา สภาพแวดล้อมเพื่อการศึกษา : การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและพื้นที่ สาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีปทุม." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.