กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมจากการแกะไม้ “พันธจองจำจิต”
dc.contributor.author | ภานุวัฒน์ สิทธิโชค | th_TH |
dc.date.accessioned | 2566-07-14T16:48:21Z | |
dc.date.available | 2023-07-14T16:48:21Z | |
dc.date.issued | 2566-03-24 | |
dc.description.abstract | “พันธจองจำจิต” แสดงออกถึงโครงสร้างพันธะผูกพันระหว่าง “กาย” กับ “จิต” เป็นโครงสร้างภาวะของมนุษย์ ที่ตอบรับปฏิกิริยาลักษณะเหนียวรั้ง สร้างพันธนาการจองจำ เสรีภาพจากภายในจิตวิญาณของความเป็นมนุษย์ ซึ่งแม้แต่ตนเองก็มิอาจหยุดยั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจากความหิวที่ไม่รู้จบได้ จนเกิดความรู้สึกกดทับ แสดงออกด้วยการตอบโต้ที่รุนแรง หากมนุษย์ยอมรับว่าจิตตนเป็นอิสระและเป็นคนละส่วนกับร่างกายแล้ว มนุษย์ย่อมดำเนินชีวิตอยู่ในฐานะที่ใจเป็นอิสระโดยสมบูรณ์เหนือพันธนาการทางกายและอาจค้นพบตัวตนที่แท้จริงได้ นอกจากนั้นวัสดุในการสร้างสรรค์มีผลต่อการแสดงออกทางอารมณ์ ถ่ายทอดสู่ผลงานจิตรกรรม 2 มิติ โดยข้าพเจ้าสนใจถึงคุณลักษณะของไม้ วัสดุที่มีชีวิต เกิดจากการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ผ่าน ดิน น้ำ อากาศ และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ลักษณะเนื้อไม้ ที่เป็นชั้นในแต่ละชั้นมีความอ่อนแข็งที่แตกต่างกัน ความรู้สึกถ่ายทอดแสดงผ่านพื้นผิวที่หลงเหลือบนแผ่นไม้ หลังการแกะ ขูด ขีด และกระบวนการอัดหมึกพิมพ์บนผิวไม้ สะท้อนร่องรอยการเซาะลอกชั้นผิวภายนอกออก หลงเหลือไว้เพียงความรู้สึก กดทับที่รุนแรง ของพันธนาการจองจำ ระหว่าง “กาย” กับ “จิต” | th_TH |
dc.description.sponsorship | จากโครงสร้างของมนุษย์ผสมผสานตั้งอยู่ด้วย “กาย” และ “จิต” ข้าพเจ้าสนใจกายมนุษย์เป็น ธรรมชาติที่ประกอบด้วยสิ่งยึดเกาะตั้งแต่เซลล์เป็นเลือด กล้ามเนื้อ กระดูก หนัง จนกลายเป็นโครงสร้างที่ เชื่อมโยงกันเป็นสัญลักษณ์ ของขอบเขตจำกัดทางกายภาพ และเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับจิตใจมนุษย์ ในขณะที่ จิตมนุษย์เป็นส่วนทีเ่ ป็นจริง และมีอิสระตามภาวะธรรมชาติ โดยรับรู้ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ผ่านทางร่างกายทั้ง 5 ช่องทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง แต่ตามธรรมชาติของจิตจะรับรู้และปรุงแต่งปรากฏการณ์นั้น ๆ ตามสภาพอารมณ์และประสบการณ์เดิมของชีวิตที่ผ่านมาในแต่ละบุคคล ดังนั้นความมีอิสระที่สมบูรณ์ใน สภาวะจิตตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน จะหายไปเพื่อแลกกับสัญชาตญาณความเป็นตัวตนและสัตว์สังคม จนไม่สามารถอยู่ตัวคนเดียวและไม่สามารถหลุดพ้นค้นพบความมีอิสระที่แท้จริงในจิตใจตนเองได้ | th_TH |
dc.identifier.citation | ภานุวัฒน์ สิทธิโชค, การประชุมวิชาการด้านความก้าวหน้าทางศิลปะวัฒนธรรมและการออกแบบระดับชาติครั้งที่ 5 (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ , 2566), 93-103. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9229 | |
dc.publisher | การประชุมวิชาการด้านความก้าวหน้าทางศิลปะวัฒนธรรมและการออกแบบระดับชาติครั้งที่ 5 | th_TH |
dc.subject | กายและจิต พันธนาการ ปลดปล่อยจิต | th_TH |
dc.title | กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมจากการแกะไม้ “พันธจองจำจิต” | th_TH |
dc.type | Book | th_TH |