การประเมินสมรรถนะของผู้วางแผนภาษีธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อนำไปใช้ใน การออกแบบหลักสูตร

เชิงนามธรรม

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อประเมินระดับสมรรถนะของผู้วางแผนภาษีในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับสมรรถนะที่ได้จากการประเมินโดยผู้วางแผนภาษีกับผู้บังคับบัญชาขั้นต้น และ(3) เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะของผู้วางแผนภาษี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ ผู้วางแผนภาษี จำนวน 52 คน และผู้บังคับบัญชาขั้นต้น จำนวน 52 คน โดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan (1970) เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินระดับสมรรถนะของผู้วางแผนภาษี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงอนุมานได้แก่ สถิติ t-test for two independent samples แบบ pooled t-test ผลการวิจัย พบว่า (1) สมรรถนะด้านหลักมีระดับสมรรถนะสูงที่สุด รองลงมาคือสมรรถนะด้านการจัดการ และสมรรถนะด้านเทคนิคตามลำดับ (2) ระดับสมรรถนะที่ได้จากการประเมินโดยผู้วางแผนภาษี และผู้บังคับบัญชาขั้นต้นไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ (3) แนวทางการออกแบบหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะของผู้วางแผนภาษีควรให้ความสำคัญกับสมรรถนะด้านเทคนิค

คำอธิบาย

2558_การประเมินสมรรถนะของผู้วางแผนภาษีธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อนำไปใช้ใน การออกแบบหลักสูตร.

คำหลัก

การประเมินสมรรถนะ, ผู้วางแผนภาษี, การออกแบบหลักสูตร, Competency assessment, Tax planner, Curriculum design

การอ้างอิง

ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. 2558. "การประเมินสมรรถนะของผู้วางแผนภาษีธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อนำไปใช้ใน การออกแบบหลักสูตร." ผลงานวิจัย คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

คอลเลคชัน