ศูนย์การเรียนรู้วิถีชีวิต ปกาเกอะญอ จังหวัดเชียงใหม่

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2559

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ปัญหาการสร้างเขื่อนนั้นไม่ใช่ทางออกทีดีที่สุด ชาวปกาเกอะญอ จะอยู่อย่างไรหากมีการสร้างเขื่อนเกิดขึ้นมา ระบบนิเวศที่รักษากันมารุ่นสู่รุ่นการอยู่ร่วมกันที่ยั่งยืนการใช้สถาปัตยกรรมกับธรรมชาติเข้าด้วยกันกำลังจะหายไปหากทางรัฐบาลยังมีการพัฒนาและไล่ชุมชนออกจากป่า กลุ่มชุมชนปกาเกอะญอที่ได้รับผลกระทบนี้ได้รวมตัวอย่างเข้มแข็งจนเป็นชุมชนตัวอย่างของความยั่งยืนจึงเป็นที่มาของวิทยานิพนธ์นี้ โดยการผ่านการเล่าเรื่องของกลุ่มคนวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอว่าตัวตนของพวกเขานั้นเป็นเช่นไร และพวกเขามีวิธีการอยู่ดูแลรักษาป่าแบบไหนตัวตนของพวกเขานั้นเป็นผู้ดูแลป่ารักษาป่า แต่เหตุใดเล่าถึงถูกกลับมองว่าพวกเขานั้นเป็นคนทำลายป่าทั้งที่พวกเขาดูแลเปรียบเสมือนชีวิตปกาเกอะญอเอง วิธีการศึกษาออกแบบได้รวบรวมข้อมูลและลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลที่นำมาศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์เนื้อหาการออกแบบต่อไป โครงการศูนย์การเรียนรู้วิถีชีวิตปกาเกอะญอมีวัตถุประสงค์เพื่อเล่าเรื่องของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตการอยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน เป็นการสื่อสารในรูปแบบการแลกเปลี่ยนความรู้และเสริมสร้างชีวิตให้กับกลุ่มชาติพันธุ์โดยมีองค์กร (กวส) เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานรองรับโครงการเพื่อสืบสานวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะว่ากลุ่ม ปกาเกอะญอ มีแนวคิดการอยู่ร่วมกับป่าผืนดินและแม่น้าที่อุดมสมบูรณ์ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อย่างยั่งยืน ผลของการศึกษาการออกแบบโครงการศูนย์การเรียนรู้วิถีชีวิต ปกาเกอะญอ เป็นรูปแบบการเล่าเรื่องวิถีชีวิตที่สื่อออกมาทางสถาปัตยกรรมโดยแบ่งสัดส่วนพื้นที่ออกเป็นสามส่วนหลักๆคือ การจัดนิทรรศการการเล่าเรื่องของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นการบอกถึงตัวตนของกลุ่ม ปกาเกอะญอ ส่วนการเรียนรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มบุคลนักเรียนนักศึกษาสามารถเข้ามาศึกษาหาข้อมูลแลกเปลี่ยนความรู้กัน

คำอธิบาย

คำหลัก

ปกาเกอะญอ, การทำพิธีกรรม, โครงการ SITE B สีแดง, โครงการ SITE C สีเหลือ, CEDE Centro Educativo

การอ้างอิง

วัชระ การุณ. 2559. "ศูนย์การเรียนรู้วิถีชีวิต ปกาเกอะญอ จังหวัดเชียงใหม่." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.