การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา
กำลังโหลด...
วันที่
2553-06-10T09:28:53Z
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการรับรู้คุณภาพบริการของ ผู้เข้ามาใช้บริการ
โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการตอบสนองที่
รวดเร็ว ด้านความไว้วางใจ ด้านความเอาใจใส่ ด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพและเพื่อเปรียบเทียบการ
รับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา จำแนกตามลักษณะทาง
ประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ กลุ่มผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา
จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายปิด (close-ended
questionaire)แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะทาง
ประชากรศาสตร์ เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพ
จำนวน 5 ข้อ ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพการบริการที่มีต่อผู้ใช้บริการของ
โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการตอบสนอง
ที่รวดเร็ว ด้านความไว้วางใจ ด้านความเอาใจใส่ และด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพ ซึ่งเป็นมาตรวัด
ของ Parasuraman และคณะในปี 1988 เครื่องมือนี้เรียกว่า Servqual สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD
ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
1. การรับรู้คุณภาพบริการของผู้เข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมีคุณภาพมาก โดยคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาเรียงอันดับจาก
ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความไว้วางใจ
ด้านการตอบสนอง และด้านการเอาใจใส่ ตามลำดับ2. การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา จำแนกตามลักษณะ
ทางประชากรศาสตร์ พบว่า
- การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาจำแนกตามเพศไม่
แตกต่างกัน
- การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาจำแนกตามอายุไม่
แตกต่างกัน
- การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาจำแนกตามระดับ
การศึกษาไม่แตกต่างกัน
- การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาจำแนกตามอาชีพมี
แตกต่างกัน ดังนี้ อาชีพแม่บ้าน, ลูกจ้างบริษัท, ค้าขาย/ ธุรกิจส่วนตัวมีการรับรู้คุณภาพบริการ
มากกว่าอาชีพรับราชการ
- การรับรู้คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาจำแนกตามรายได้ต่อ
เดือนมีความแตกต่างกัน ดังนี้ ผู้ใช้บริการที่มีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท, 20,001-30,000
บาท, 30,001-40,000 บาท และ มากกว่า 40,001 บาท มีการรับรู้คุณภาพบริการน้อยกว่าผู้ใช้บริการ
ที่มีรายได้ ต่ำกว่า 10,000 บาท
คำอธิบาย
คำหลัก
การรับรู้, คุณภาพบริการ, ผู้ใช้บริการ, โรงพยาบาลพญาไท