ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงิน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2553

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ (1) ศึกษาพฤติกรรมในการเรียนของนักศึกษาคณะบัญชีที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงินในภาคการศึกษาที่ 2/2552 (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงินสำหรับภาคการศึกษาที่ 2/2552 การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) แบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบัญชีที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงินในภาคการศึกษาที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2552 จำนวน 124 คน โดยผู้วิจัยใช้แบบบันทึกพฤติกรรมในการเรียนและการร่วมอภิปราย การซักถามปัญหาและ การร่วมแสดงความคิดเห็นในระหว่างเรียนในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้เวลาในการเก็บข้อมูลถึงช่วงกลางภาคของภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552 คือช่วงระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน พ.ศ.2553 ทั้งนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ จำนวนและร้อยละ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงิน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้: - 1. พฤติกรรมในการเรียนด้านการเข้าเรียนตรงต่อเวลามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงินในภาคการศึกษาที่ 2/2552 2. พฤติกรรมในการเรียนด้านจำนวนครั้งของการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงินในภาคการศึกษาที่ 2/2552 3. พฤติกรรมในการเรียนด้านการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมตามที่ได้รับมอบหมายมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กับผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงินในภาคการศึกษาที่ 2/2552

คำอธิบาย

คำหลัก

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, Learning Achievement

การอ้างอิง