ปัญหาการจัดทำประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2553-05-18T07:27:36Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

ที่ผ่านมาปัญหาทางจริยธรรมของนักการเมืองทั้งในสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เกิดข้อกล่าวหามากมายจากฝ่ายค้านซึ่งถือเป็นนักการเมืองด้วยกันเอง นักวิชาการ ปัญญาชน สหภาพแรงงานและรัฐวิสาหกิจ ตลอดถึงประชาชนโดยทั่วไป อันเป็นที่มาของการปฏิวัติรัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 อีกประการหนึ่งนอกจากข้อกล่าวหาที่ว่าแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มีจุดบกพร่องทำให้ระบอบประชาธิปไตยของไทยล้มเหลว ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 จึงได้บัญญัติเพิ่มเติม บทว่าด้วย จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ ไว้ในหมวด 13 เพื่อเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จากการศึกษาถึง แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม ทำให้ทราบว่า จริยธรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับขนมธรรมเนียม จารีตประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหมายถึง ผู้ที่ชนะการเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งนั้นๆ ได้กำหนดไว้ และให้รวมถึงผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามกฎหมายด้วย นักการเมืองจึงเป็นตัวแทนของประชาชนในแต่ละจังหวัดที่ถูกคัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่ในการบริหารประเทศของ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย การควบคุม กำกับดูแลให้บุคคลเหล่านี้ให้มีระเบียบวินัยทางการเมืองนั้น รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมาได้บัญญัติไว้โดยละเอียดแล้ว ทั้งในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องต่างๆ แต่ยังไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในระเบียบวินัยได้ดีเท่าที่ควรดังนั้นในเรื่องของ ประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นี้ผู้ศึกษา เสนอแนะว่าให้จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากหน่วยงานดังกล่าวมานี้ทราบถึงปัญหาและรายละเอียดเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และทราบถึงคุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ามาเป็นนักการเมือง ตั้งแต่เริ่มต้นการรับสมัครรับเลือกตั้ง จึงให้มีหน้าที่ในการกำกับดูแลต่อไป จนกว่าจะทำหน้าที่ ครบวาระหรือสิ้นสุดการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

คำอธิบาย

คำหลัก

จริยธรรม, ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง, รัฐธรรมนูญ, การเมือง

การอ้างอิง