การประยุกต์ใช้การระบายอากาศเชิงกลแบบธรรมชาติในอาคารพักอาศัยรวม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2560

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีในการออกแบบอาคารทางสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองต่อบริบทโดยรอบของเมืองที่มี ความหนาแน่นของอาคารทั้งขนาดเล็กและใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของอากาศ ทิศ ทางกระแสลม ถูกบดบังเสียดทาน และหักเหไปจากทิศทางโดยธรรมชาติ แนวความคิดในการออกแบบคือ การคำนึงถึง ลักษณะของรูปทรง รูปแบบการวางผังการกำหนดช่องเปิดช่องปิดของอาคาร อัตราส่วนของช่องเปิดช่องปิดของอาคาร ตำแหน่งของช่องเปิดช่องปิดของอาคาร การออกแบบที่ดักลมเพื่อ ควบคุมลมหรืออากาศให้ไหลผ่าน เพื่อที่จะตอบสนองต่อการไหลผ่านและไหลเวียนของอากาศที่สอดคล้องกับพฤติกรรมในการใช้ที่ว่างนั้น ๆ และคำนึงถึงการนำเอาทฤษฎีที เกียวข้อง(Cross Ventilation& Stack Ventilation) มาใช้ให้เหมาะสม โดยใช้เงื่อนไขในเรื่องของความหนาแน่ของเมืองที่มีความหนาแน่นนั้นทำให้ขวางกั้น และหักเหทิศทางของกระแสลมหลักโดยธรรมชาติเปลี่ยนไป และองศาของลมที่กระทำ ต่อตัวอาคารสถาปัตยกรรม หรือ ในกรณีช่วงเวลาที่กระแสลมไม่ไหลผ่านตัวอาคาร และเลือกใช้ระบบของช่องเปิดช่องปิดของอาคารสถาปัตยกรรม ตามที่ศึกษาจากข้อมูล งานวิจัย และทฤษฎีที่มาใช่ในการออกแบบระบบอาคารให้สอดคล้องต่อบริบทในเงื่อนไขดังกล่าวที่เหมาะสมต่อพฤติกรรมการใช้ที่ว่างนั้นๆ

คำอธิบาย

สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

Comfort Zone, สถาปัตยกรรมสมัยใหม่, Modern Architecture, ทฤษฎีภาวะน่าสบาย, Ventilation

การอ้างอิง

ณัฐพงษ์ ตงคำ. 2560. "การประยุกต์ใช้การระบายอากาศเชิงกลแบบธรรมชาติในอาคารพักอาศัยรวม." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.