การทดสอบเปรียบเทียบกำลังรับโมเมนต์ดัดของคานและพื้นทางเดียวที่เสริมด้วยเหล็กเส้นที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2549-10-24

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 12

เชิงนามธรรม

ปัจจุบันในท้องตลาดขายปลีกวัสดุก่อสร้างไทย มีเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตหลายขนาดให้เลือก ซึ่งในแต่ละขนาด ผู้ซื้อสามารถเลือกที่จะใช้เหล็กเต็มเส้น ที่มีตรา มอก. หรือจะเลือกเหล็กที่ไม่มี ตรา มอก. ซึ่งเหล็กเส้นที่ไม่มีตรา เหล่านี้มีมวลต่อความยาวต่ำกว่าที่ระบุไว้ในมาตรฐาน แน่นอนว่าหากผู้รับเหมาซื้อเหล็กเส้นดังกล่าวไปใช้ ชิ้นส่วนโครงสร้างที่เสริมด้วยเหล็กเส้นที่ไม่ได้มาตรฐานนี้ก็ย่อมจะมีกำลังรับน้ำหนักที่ต่ำกว่าโครงสร้างที่เสริมด้วยเหล็กที่ได้มาตรฐาน บทความนี้ได้นำเสนอถึงการทดสอบเพื่อหากำลังการรับโมเมนต์ดัดของคานและพื้นทางเดียวที่เสริมด้วยเหล็กเส้นที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน จากการทดสอบคานสองตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้นข้ออ้อย DB12 พบว่าคานตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น B12 ที่ได้มาตรฐานมีกำลังรับโมเมนต์ดัดเป็น 198% ของค่าที่คำนวณได้จากสูตรที่ใช้ในการออกแบบ ในขณะที่คานตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น DB12 ที่ไม่ได้มาตรฐานมีกำลังรับโมเมนต์ดัดเป็น 118% ของค่าที่คำนวณได้ จากการทดสอบแผ่นพื้นสี่ตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้นกลม พบว่ากำลังการรับโมเมนต์ดัดของพื้นตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น RB6 ที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานเป็นสัดส่วน 101% และ 78% ของค่าที่คำนวณได้ตามลำดับ ในขณะที่กำลังการรับโมเมนต์ดัดของพื้นตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น RB9 ที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานเป็นสัดส่วน 121% และ 73% ของค่าที่คำนวณได้ตามลำดับ

คำอธิบาย

คำหลัก

Non-standard rebars, Bending test, Pullout test

การอ้างอิง

คอลเลคชัน