การเคลื่อนไหวและปฏิสัมพันธ์ในสถาปัตยกรรม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2561

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเคลื่อนไหวที่เป็นโครงสร้างหรือที่ว่างทางสถาปัตยกรรมทางด้านกายภาพ ตลอดจนแนวความคิดและแนวทางออกแบบการเคลื่อนไหว เพื่อตอบสนองการรับรู้ที่ว่างทางสถาปัตยกรรมและ ความสามารถในการปรับตัวและมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมโดยรอบและรูปแบบต่าง ๆ ของการเคลื่อนไหวในที่ว่างสาธารณะที่มีการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของการใช้สอยอยู่ตลอดเวลา ทัง้ นี้เพื่อสร้างชุดเครื่องมือในการออกแบบและการกำหนดประโยชน์การใช้สอยที่ถูกต้อง และมีความสอดคล้องกับบริบท แนวความคิดการออกแบบการเคลื่อนไหวในสถาปัตยกรรม มีการกำหนดกรอบ แนวความคิดในเรื่องการเคลื่อนไหวในงานสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นผลลัพธ์ Interactive in Architecture การสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนและแนวคิดเรื่องการสื่อสารคนระหว่างกับที่ว่าง การสร้างการเคลื่อนไหว เป็นแนวความคิดหลักในการสร้างความสัมพันธ์ขององค์ประกอบใน การรับรู้ และเป็นปัจจัยการเกิดรูปแบบการเคลื่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลต่อ การเคลื่อนไหว ซึ่งนาไปสู่ประเด็นการขยับรูปแบบเพื่อเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ และประโยชน์ ใช้สอยจากกิจกรรม นำมาใช้เป็นแนวทางออกแบบเพื่อปรับเปลี่ยนที่ว่างทางสถาปัตยกรรม ความต้องการโดยมนุษย์สามารถเป็นคนกำหนดเองได้ ลักษณะภาพรวมของแนวความคิดการเคลื่อนไหวในที่ว่างทางสถาปัตยกรรมนั้น ได้แสดงให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนของพื้นที่ จากสภาวะความเปลี่ยนแปลงของที่ว่างซึ่งอยู่นิ่ง ๆ ที่เกิดจากความแตกต่างของรูปแบบการใช้พื้นที่และการซ้อนทับของกิจกรรม ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการออกแบบที่ว่างที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ และสร้างปฏิสัมพันธ์คนกับที่ว่างทางสถาปัตยกรรม โดยเป็นเครื่องมือรูปแบบโครงสร้างที่สามารถเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตามกิจกรรมพฤติกรรมการใช้พื้นที่

คำอธิบาย

วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

การเคลื่อนไหว, รูปแบบของการเคลื่อนไหว, การเคลื่อนที่

การอ้างอิง

พรทิพย์ หัสยพงศ์พันธ์. 2561. "การเคลื่อนไหวและปฏิสัมพันธ์ในสถาปัตยกรรม." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.