ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
dc.contributor.author | ปัทมา โกเมนท์จำรัส | th_TH |
dc.date.accessioned | 2564-06-22T10:42:29Z | |
dc.date.available | 2021-06-22T10:42:29Z | |
dc.date.issued | 2564-04-30 | |
dc.description | สรุปและอภิปรายผลการศึกษา จากการศึกษางานวิจัยข้างต้น ผู้ใช้บริการทางการเงิน และผู้ประกอบการการให้บริการทางการเงินสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ในการพิจารณาและป้องกันความเสี่ยงจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ได้ นั่นคือ 1) ปัจจัยด้านผู้ใช้บริการ ปัจจัยด้านสถานที่ที่ใช้บริการ ปัจจัยด้านรูปแบบกระบวนการ และปัจจัยด้านระบบรักษาความปลอดภัย เป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงในระดับมาก และระดับปานกลาง 2) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้แก่ ความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงในด้านปฏิบัติการ มีความเสี่ยงในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และรายจ่ายต่อเดือน ส่งผลต่อระดับความคิดเห็นของความเสี่ยงในภาพรวมของผู้ใช้บริการจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ 4) ปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ในด้านระบบรักษาความปลอดภัยส่งผลต่อระดับความเสี่ยงในด้านการเงิน ความเสี่ยงในด้านปฏิบัติการ และความเสี่ยงในภาพรวม | th_TH |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้คือ (1) ศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (E-banking) ได้แก่ปัจจัยด้านผู้ใช้บริการ ปัจจัยด้านสถานที่ที่ใช้บริการ ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ และปัจจัยด้านระบบรักษาความปลอดภัย (2) ศึกษาความเสี่ยงจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์(E-banking) โดยเป็นการศึกษาความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (3) ศึกษาเปรียบเทียบระดับความเสี่ยงในภาพรวมจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (E-banking) เมื่อจำแนกตาม เพศ สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และรายจ่ายต่อเดือน (4) การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (E-banking) ในรายด้าน และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในด้านการเงิน ในด้านปฏิบัติการ และในภาพรวม จากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งด้านผู้ใช้บริการ ด้านสถานที่ใช้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านระบบรักษาความปลอดภัย เป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงในระดับปานกลางและระดับมาก (2) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์(E-banking) ในด้านการเงินและด้านปฏิบัติการจะมีระดับมาก (3) ความเสี่ยงจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (E-banking) เมื่อเปรียบเทียบ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และรายจ่ายต่อเดือน พบว่า ระดับความเสี่ยงโดยรวมแตกต่างกัน (4) ปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงของด้านสถานที่และด้านระบบรักษาความปลอดภัยส่งผลต่อระดับความเสี่ยงในด้านการเงิน ปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงของด้านระบบรักษาความปลอดภัยส่งผลต่อระดับความเสี่ยงในด้านปฏิบัติการ และปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงของด้านระบบรักษาความปลอดภัยส่งผลต่อระดับความเสี่ยงในด้านภาพรวม | th_TH |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.identifier.uri | งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งที่ 11 ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ การจัดการ และศิลปะ ประจำปี 2564 ผ่านโปรแกรม ZOOM หน้า 177-188. | |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7644 | |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งที่ 11 ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ การจัดการ และศิลปะ ประจำปี 2564 ผ่านโปรแกรม ZOOM หน้า 177-188. | th_TH |
dc.subject | ความเสี่ยง | th_TH |
dc.subject | บริการ | th_TH |
dc.subject | อิเล็กทรอนิกส์ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร | th_TH |
dc.title.alternative | Factors Affecting the Risks of Financial Transaction Services via Electronic Banking (E-BANKING) of Bangkok Residents | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |