ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการลวงขายตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534

dc.contributor.authorJamsat Duangkamon
dc.date.accessioned2551-09-30T12:50:47Z
dc.date.available2551-09-30T12:50:47Z
dc.date.issued2551-09-25
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการลวงขายตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายอังกฤษ” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาอันเกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้า เพื่อหาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆและหามาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการลวงขาย ให้มีประสิทธิภาพเพียงพอกับสถานการณใ์นปัจจุบันที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงเสนอ มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในอนาคต วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องการละเมิดและค่าเสียหาย และประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องการละเมิดเครื่องหมายการค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษ โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์ถึงการลวงขาย การเรียกค่าเสียหายและโทษจากการลวงขายเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง การบังคับใช้กฎหมายเครื่องหมายการค้าอันเกี่ยวกับการลวงขาย ซึ่งจาก การศึกษาทำให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาอันเกี่ยวกับการลวงขายว่าเกิดจากการที่บทบัญญัติของกฎหมายยังไม่ชัดเจนในหลายประเด็น กล่าวคือ ปัญหาเกี่ยวกับการลวงขายที่ยังไม่มีคำนิยามเฉพาะ ปัญหาเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหาย ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษในการที่จะป้องกันมิให้มีการละเมิดเครื่องหมายการค้าอันเกิดจากการลวงขาย ซึ่งปัญหาของการลวงขายเครื่องหมายการค้านั้นในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบแก่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นอย่างมาก เนื่องจากการลวงขายนั้นเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบธุรกิจ โดยผลกระทบที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับเป็นต้นว่า ผลกำไรจากการจำหน่ายสินค้าลดลง ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือค่านิยมทางการค้า ลดลง รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องดำเนินคดีจากการศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้า ทำให้ได้ ข้อสรุปว่ากฎหมายเกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้านั้นยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคดีลวงขายต่าง ๆ ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลวงขายโดยกำหนดเป็นคำนิยามเฉพาะเพื่อให้การวินิจฉัยคดีนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนเรื่องการเรียกค่าเสียหายและบทกำหนดโทษก็ให้มีการบัญญัติขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะโดยไม่จำต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายอาญามาปรับใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดคดีเกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้า และเมื่อมีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะแล้วก็จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับความคุ้มครองจากการลวงขายเครื่องหมายการค้าได้อย่างเต็มที่การศึกษาในครั้งนี้จึงมีประโยชน์และนำไปสู่แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้าจากผู้กระทำความผิดได้ โดยจะได้มีการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวกับการลวงขาย และการให้ความคุ้มครองผู้ประกอบธุรกิจการค้า และผู้บริโภค เพื่อเป็นแนวทางใน การนำไปพิจารณาและหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปในทางที่จะไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจต่อไปen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1225
dc.language.isootheren_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesLL.M.en_US
dc.subjectพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าen_US
dc.subjectนิติศาสตร์en_US
dc.subjectกฎหมายธุรกิจen_US
dc.subjectการลวงขายen_US
dc.subjectปัญหาen_US
dc.subjectเครื่องหมายการค้าen_US
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการลวงขายตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534en_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS ON THE PASSING OFF IN TRADEMARK ACT B.E. 2534 COMPARATIVE STUDY BETWEEN BRITISH LAW AND THAI LAWen_US
dc.typeThesisen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
DuangkamonLLM2.pdf
ขนาด:
1.91 MB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
Fulltext
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย:

คอลเลคชัน