การปรับปรุงอาคารเก่าตลาดนางเลิ้ง
dc.contributor.author | ทิพย์วรรณ แขกสอาด | en_US |
dc.date.accessioned | 2562-06-01T04:51:34Z | |
dc.date.available | 2019-06-01T04:51:34Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.description | สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | en_US |
dc.description.abstract | สถาปัตยกรรมเก่าที่ทรงคุณค่า สามารถบ่งบอกถึงความเป็นมาและเป็นตัวที่บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองในอดีต โดยแต่ละที่มีวิธีการในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่มักจะถูกกันไว้เป็นสถานที่หวงห้ามมาจากนโยบายหรือมาตรการต่างๆ ที่กำหนดให้แยกพื้นที่ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ออกจากชุมชน แทนที่จะมุ่งเน้นรักษาให้คงสภาพไว้ให้ใกล้เคียงของเดิมอย่างเดียว ควรหันกลับมาอนุรักษ์และให้ค่าความสาคัญของสถาปัตยกรรมเก่า โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นและมีความสำคัญ ให้กลับมีชีวิตโดยกำหนดให้ชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับสถานที่และสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมได้ โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการปลูกฝังให้ชุมชนมีจิตสำนึกและภาคภูมิใจในถิ่นที่อยู่ ปัจจุบันชุมชนย่านตลาดเก่านางเลิ้ง มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพไปค่อนข้างมาก เนื่องมาจากการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ และความต้องการด้านที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกายภาพของชุมชนย่านตลาดเก่านางเลิ้งเพิ่มมากขึ้นจนอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม เพื่อที่จะอนุรักษ์ไว้จึงได้ศึกษาความเป็นไปได้ของการปรับปรุงอาคารเก่า โดยการนำกฎหมายข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพื้นที่ย่านชุมชนเก่าของท้องถิ่น เช่น การกำหนดควบคุมความสูงของอาคาร การกำหนดขนาดพื้นที่พานิชยกรรมในเขตเมืองเก่า การกำหนดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมมาประกอบการพิจารณาร่วมกับทฤษฎีหลักการทางวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเข้ามาอ้างอิงควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูลในท้องที่ เมื่อนำข้อมูลมาซ้อนทับกันแล้วทำให้เห็นถึงศักยภาพของที่ว่าง ที่สามารถทำการปรับปรุงพื้นที่ได้ โดยทำอย่างไรให้คงสภาพเดิมไว้มากที่สุด จากการศึกษาพบว่าย่านนางเลิ้งมีคุณค่าในเชิงอนุรักษ์ จากการเป็นพื้นที่ที่มีความทรงจำทางวัฒนธรรม ทั้งการเป็นแหล่งการค้าอาหารขนมหวานที่ขึ้นชื่อ เป็นชุมชนเก่าที่มีปฏิสัมพันธ์ในชุมชนสูงมีสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และเคยเป็นแหล่งบันเทิงที่สาคัญของกรุงเทพมหานครนับว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแห่งหนึ่ง แต่ในด้านความเข้มแข็งของชุมชนพบว่าการรวมกลุ่มกันแก้ปัญหาของชุมชนยังมีน้อยและยังขาดองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง ในการวางแผนการอนุรักษ์ย่านนางเลิ้งทางด้านลักษณะทางกายภาพใช้วิธีการฟื้นฟูเมือง ซึ่งแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ระดับ คือ การอนุรักษ์ การปรับปรุงฟื้นฟู และการพัฒนาสร้างใหม่ | en_US |
dc.description.sponsorship | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม | en_US |
dc.identifier.citation | ทิพย์วรรณ แขกสอาด. 2561. "การปรับปรุงอาคารเก่าตลาดนางเลิ้ง." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6216 | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | en_US |
dc.relation.ispartofseries | 510522778_ ทิพย์วรรณ แขกสอาด_2561 | en_US |
dc.subject | การอนุรักษ์อาคาร | en_US |
dc.subject | แนวคิดการประเมินคุณค่าอาคาร | en_US |
dc.title | การปรับปรุงอาคารเก่าตลาดนางเลิ้ง | en_US |
dc.title.alternative | Nangluang Rehabilitation : Nangluang Than Market | en_US |
dc.type | Other | en_US |