ความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

เชิงนามธรรม

การศึกษาวิจัยเรื่องความพึงพอใจในการใชบบริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครจาํแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสํารวจ ซึ่งมุ่งเน้นทำการสํารวจสอบถามเฉพาะผู้ที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยกําหนดกลุ ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนทั่วไปไปที่ใชบ้ริการ BTS ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 538 คน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ซ่ึงในการวิจยัครั ้งนี ้ ผูว้ิจยัไดท้าํการวิเคราะห์ขอ้มูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกําหนดระดบัความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้ สถิติที่ใชใ้นการวิเคราะห์ขอ้มูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค ่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) สําหรับค่า นยัสาํคญัทางสถิติที่ใชใ้นการวเิคราะห์ครั้งนี้กําหนดไวท้ี่ระดบั .05 และ .01 ผลการวจิยั พบว่าผตู้อบแบบสอบถาม มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลความพึงพอใจในการใช้บริการ BTS ด้านรูปภาพลักษณ์ อยู่ในระดับมาก ( x= 3.97 , S.D.= 0.69) ด้านการตอบสนองลูกค้า มีระดบัความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x = 3.78, S.D.= 0.75) ด้านความรับประกัน/ความมั่นคง มีระดับความคิดเห็นระดับมาก (x = 3.83, S.D.= 0.76) ด้านการเอาใจใส่ลูกค้า เป็นรายบุคคลมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x =3.84, S.D.= 0.72) และด้านความหน้าเชื่อถือและไว้วางใจพบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

คำอธิบาย

การใช้บริการรถไฟฟ้า BTS

คำหลัก

ความพึงพอใจ, รถไฟฟ้า BTS, ประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร

การอ้างอิง

ปัทมา โกเมนท์จำรัส และคณะ. (2562). ความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14 ประจำปี 2562 (น. 315). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม