ตัวคูณลดกำลัง สำหรับมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติในประเทศไทย
dc.contributor.author | ฉัตร สุจินดา | |
dc.date.accessioned | 2552-05-25T06:55:38Z | |
dc.date.available | 2552-05-25T06:55:38Z | |
dc.date.issued | 2552-05-25 | |
dc.description.abstract | ค่าของตัวคูณลดกำลัง ที่แนะนำในมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง วสท 1008-38 เป็นค่าที่อ้างอิงมาจากมาตรฐาน ACI 318-89 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งค่าตัวคูณลดกำลังเหล่านี้ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ของการกระจายของคุณภาพวัสดุและมาตรฐานการก่อสร้างของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย ดังนั้นหากมีการศึกษาข้อมูลดังกล่าวสำหรับการก่อสร้างในประเทศไทย และได้นำมาใช้เป็นตัวกำหนดถึงค่าของตัวคูณลดกำลังสำหรับประเทศไทยเองโดยเฉพาะ ก็ย่อมจะมีความเหมาะสมมากกว่าการใช้ค่าที่คัดลอกมาจากต่างประเทศ ในปัจจุบันได้มีการเสนอให้แบ่งการใช้ตัวคูณลดกำลังออกเป็นสองกรณีดังนี้ กรณีที่ 1 คือกรณีการก่อสร้างที่มีการระบุมาตรฐานงานก่อสร้างและการควบคุมคุณภาพวัสดุเป็นอย่างดี ให้ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังเหมือนในมาตรฐาน วสท 1008-38 ส่วนกรณีที่ 2 คือกรณีการก่อสร้างที่ไม่มีการระบุฯ ให้ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังในอัตราส่วน 5/6 เท่าของที่ใช้สำหรับกรณีที่ 1 อย่างไรก็ตามอัตราส่วนนี้ ไม่ปรากฏถึงที่มาอันเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือหลักฐานซึ่งแสดงถึงความเที่ยงตรงของค่าอัตราส่วนดังกล่าวแต่อย่างใด งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อเลือกตัวคูณลดกำลังที่เหมาะสมสำหรับมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติของคุณภาพวัสดุและการก่อสร้างในประเทศไทย เพื่อนำไปใช้สำหรับกรณีที่ 2 คือกรณีการก่อสร้างที่ไม่มีการระบุมาตรฐานงานก่อสร้างและการควบคุมคุณภาพวัสดุเป็นอย่างดี ซึ่งโครงสร้างในกรณีที่ 2 นี้ มักจะเป็นบ้านพักอาศัยหรืออาคารขนาดเล็ก ซึ่งข้อมูลทางสถิติดังกล่าวได้แก่ แรงดึงที่จุดครากของเหล็กเส้น และกำลังอัดประลัยของคอนกรีตที่ใช้ ขนาดของชิ้นส่วนโครงสร้างจริงและตำแหน่งของเหล็กเสริม ข้อมูลเหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อความสามารถในการรับแรงของชิ้นส่วนของประชากรโครงสร้างที่ศึกษา จากนั้นได้สร้างแบบจำลองซึ่งมีพื้นฐานมาจากสูตรที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วนำไปทางการจำลองแบบมอนติคาโล โดยการสุ่มค่าของข้อมูลที่สมมุติให้มีลักษณะการกระจาย คล้ายกับข้อมูลทางสถิติของตัวอย่างที่เก็บมาได้ เพื่อหาการกระจายของความสามารถในการรับแรงของชิ้นส่วนโครงสร้างที่ศึกษา เมื่อนำมาคำนวณประกอบกับการกระจายของผลของน้ำหนักบรรทุก จะสามารถหาค่าดัชนีความเชื่อมั่น ซึ่งตัวคูณลดกำลังที่เหมาะสมคือค่าที่ทำให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นใกล้เคียงกับดัชนีความเชื่อมั่นเป้าหมายซึ่งได้มาจากการสอบเทียบใหม่ของมาตรฐาน ACI318 จากการศึกษาครั้งนี้ได้ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับโมเมนต์ดัดในคาน 0.80 และเฉือนในคาน 0.87 และแรงตามแนวแกนในเสาสั้นปลอกเดี่ยว 0.62 ซึ่งแตกต่างไปจากค่าที่กำหนดไว้ในกรณีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ แต่เนื่องจากค่าดังกล่าวได้มาจากข้อมูลที่จำกัด ดังนั้นจึงเสนอแนะให้หาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้ในมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคต | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1469 | |
dc.publisher | SPU Research Institute | en_US |
dc.subject | Strength reduction factors | en_US |
dc.subject | Reinforced concrete design standard | en_US |
dc.subject | Mote Carlo simulation | en_US |
dc.subject | Analyses of structure reliability | en_US |
dc.title | ตัวคูณลดกำลัง สำหรับมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | THE STRENGTH REDUCTION FACTORS FOR REINFORCED CONCRETE DESIGN STANDARDS BASED ON THAILAND STATISTICAL DATA | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- Complete Research Report Format Corrected 2550-2552.pdf
- ขนาด:
- 850.83 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
- คำอธิบาย:
- Full Report
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.72 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: