สถาปัตยกรรมเพื่อการปฎิบัติธรรม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2560

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ในปัจจุบัน ความเจริญทางวัตถุหรือกระแสวัตถุนิยมกำลังเป็นที่แพร่หลายกับคนในสังคมไทยจำนวนมาก ส่งผลให้วิถีชีวิตคนไทยในปัจจุบันแตกต่างไปจากเดิม การเบียดเบียน การเอารัดเอาเปรียบ การคดโกง การทะเลาะวิวาท ตลอดจนการรบรา ฆ่าฟันกัน ยังคงมีอยู่ในสังคมทั่วไป การดำรงชีวิตเริ่มมีปัจจัยภายนอกเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่น สื่อทางเทคโนโลยี ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ รวมถึงพื้นฐานชีวิตที่เปลี่ยนไป ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน คนทั่วไปพยายามที่จะหนีความเลวร้ายทั้งหลายที่มนุษย์เองเป็นผู้ก่อ โดยหันมาแสวงหาหนทางแห่งความพ้นทุกข์มากขึ้น แต่ในปัจจุบันสถานที่ที่สามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจหรือสิ่งบำบัดจิต ที่มีความเหมาะสมกับชีวิตคนเมืองในปัจจุบันนั้นหาได้ยาก รวมไปถึงยังต้องต้องการทางเลือกในการบำบัดจิตใจให้สงบ และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนยุคใหม่ วิธีการศึกษาใช้กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลจาก เอกสาร หนังสือตารา กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อจัดทำโปรแกรมการออกแบบ การออกแบบนำแนวความคิดเรื่องธรรมชาติกับการปฎิบัติธรรมมาใช้ในการสร้างสรรค์ ที่ว่าง การวางผัง รูปแบบ รูปทรง เพื่อการใช้งานอย่างเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ในยุคสมัยปัจจุบัน

คำอธิบาย

สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

การปฏิบัติธรรม, สมาธิ, ลักษณะ Space ทางสถาปัตยกรรม, ทฤษฎีของพื้นที่ว่าง Space, หอจดหมายหตุท่านพุทธทาส

การอ้างอิง

พชรพล เหลี่ยมแก้ว. 2560. "สถาปัตยกรรมเพื่อการปฎิบัติธรรม." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.