ความรู้ในตราสินค้าและความคิดเห็นต่อตราสัญลักษณ์การไฟฟ้านครหลวงของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorเมธี ภู่ศรีen_US
dc.date.accessioned2562-03-09T03:46:50Z
dc.date.available2019-03-09T03:46:50Z
dc.date.issued2562-03-09
dc.descriptionนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง “ความรู้ในตราสินค้าและความคิดเห็นต่อตราสัญลักษณ์การไฟฟ้านครหลวงของประชาชนในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสำรวจความรู้ในตราสินค้าการไฟฟ้านครหลวงของประชาชนในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อตราสัญลักษณ์การไฟฟ้านครหลวงของประชาชนในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research method) ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างรวม 210 คน เลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาตามความสะดวก (Convenience sampling) กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 เขต คือเขตบางกะปิ เขตมีนบุรี เขตลาดพร้าว เขตหลักสี่ เขตคลองเตย และเขตบางเขน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive statistical analysis) โดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และนำเสนอข้อมูลในตารางเพื่ออภิปรายผลข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ในตราสินค้าการไฟฟ้านครหลวง ด้านการตระหนักรู้ตราสินค้า ในส่วนการจดจำตราสินค้า (Brand recognition) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สามารถจดจำชื่อ ตราสัญลักษณ์ และสีเอกลักษณ์ขององค์กร รวมถึงชื่อย่อภาษาไทยของการไฟฟ้านครหลวงได้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบเอกลัษณ์ตราสินค้าที่มีความโดดเด่น เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่สามารถจดจำข้อมูลเชิงรายละเอียดที่เกี่ยวกับคุณสมบัติพื้นฐานของการไฟฟ้านครหลวงได้ เช่น ชื่อย่อภาษาอังกฤษ หมายเลขโทรศัพท์ศูนย์กลางข้อมูล (Call center) และพื้นที่ให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง การตระหนักรู้ตราสินค้า ในส่วนของการระลึกถึงตราสินค้า (Brand recall) กลุ่มตัวอย่างจะระบุชื่อ การไฟฟ้านครหลวง เป็นอันดับแรกมากที่สุด และยังพบว่ามีการระลึกถึงการไฟฟ้านครหลวงในเชิงบวกมากที่สุด ประกอบด้วย ด้านองค์กร และด้านการบริการ ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าการไฟฟ้านครหลวงล้วนเป็นภาพลักษณ์เชิงบวกทั้งสิ้น ประกอบ ด้วย “ด้านคุณสมบัติ” (Attribute) “ด้านคุณประโยชน์” (Benefit) และ “ด้านทัศนคติ” (Attitudes) เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าภาพลักษณ์การไฟฟ้านครหลวง ที่มีผลเชิงบวกมากเป็นอันดับแรก คือประเด็น “การไฟฟ้านครหลวงมีความมั่นคง” ความคิดเห็นที่มีต่อตราสัญลักษณ์การไฟฟ้านครหลวงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ สีมีความโดดเด่น สะดุดตา สามารถสื่อความหมายถึงองค์กรได้ และยังมีรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน มีการจัดวางองค์ประกอบได้สมดุลสวยงาม รวมถึงเป็นตราสัญลักษณ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จึงทำให้ง่ายต่อการจดจำ และยังมีรูปแบบที่มีความทันสมัยen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6131
dc.language.isothen_US
dc.subjectตราสินค้าen_US
dc.subjectตราสัญลักษณ์en_US
dc.subjectการไฟฟ้านครหลวงen_US
dc.titleความรู้ในตราสินค้าและความคิดเห็นต่อตราสัญลักษณ์การไฟฟ้านครหลวงของประชาชนในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeBRAND KNOWLEDGE AND OPINION ON LOGO OF METROPOLITAN ELECTRICITY AUTHORITY AMONG BANGKOK METROPOLITANen_US
dc.typeThesisen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
abstract.pdf
ขนาด:
95.7 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: