ความเหมาะสมในการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล สำหรับผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานภูเก็ต
กำลังโหลด...
วันที่
2564
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและดำเนินงานวิจัยความเหมาะสมในการเลือกใช้ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานภูเก็ต 2) ให้ผู้ปฏิบัติงานมีแนวทางในการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติวิธีการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานและลูกจ้าง ท่าอากาศยานภูเก็ต บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 767 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารและการ สังเกตจากแบบฟอร์มสังเกตอันตรายในการปฏิบัติงานเสี่ยง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าจากการสังเกตอันตรายในการปฏิบัติงานเสี่ยงของกลุ่มตัวอย่างมีบาง ลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลไม่เหมาะสม หรือ ไม่ครอบคลุมกับลักษณะงานที่ทำ ซึ่งการเลือกอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสม ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับลักษณะและอันตรายของงาน โดยการปฏิบัติงาน บางอย่างอาจมีลักษณะงานหลายลักษณะประกอบกัน ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องพิจารณาก่อนการ ปฏิบัติงานแต่ละครั้งว่างานหรือกิจกรรมนั้นประกอบด้วยลักษณะงานใดบ้าง และเลือกใช้อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามตารางอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามลักษณะ งานที่ได้ทำการวิเคราะห์มา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายอย่างสูงสุดให้แก่ ผู้ปฏิบัติงาน
คำอธิบาย
คำหลัก
การอ้างอิง
ธนาพร งามวงศ์รัตนชื่น. (2563). รายงานวิจัยสหกิจศึกษา “ความเหมาะสมในการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล สำหรับผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานภูเก็ต” . กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม.