การศึกษาพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของเมือง โครงการที่พักอาศัยใต้ทางด่วนเพื่อคนเร่ร่อน
กำลังโหลด...
วันที่
2561
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและออกแบบพื้นที่บริเวณใต้ทางด่วน ให้มีประโยชน์ต่อคนไร้บ้าน และเพิ่มศักยภาพพื้นที่ใต้ทางด่วน ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเกิดการใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่นที่พักอาศัยและพื้นที่เกิดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเมือง
การศึกษาออกแบบ รับรู้สภาพปัญหาของลักษณะพื้นที่ใต้ทางด่วน ศึกษาค้นคว้าด้านการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน การใช้พื้นที่รกร้างในเมือง ให้เกิดประโยชน์ มีการทำงานผ่านกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม เริ่มจากการศึกษาทฤษฎี การรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา ศึกษาโครงการกรณีศึกษาถึงวิธีการออกแบบ ศึกษาแนวความคิดด้านทฤษฎี และนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การออกแบบ และกำหนดโปรแกรมของโครงการ เพื่อให้ตรงกับแนวความคิด ความเป็นสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับการส่งเสริมความเป็นอยู่ของคนไร้บ้าน และส่งเสริมแนวทางปรับปรุงแก้ไขพื้นที่บริเวณใต้ทางด่วน ให้เหมาะสมต่อการใช้งานพื้นที่มากขึ้น
ผลการศึกษาออกแบบสถาปัตยกรรม โดยใช้แนวความคิด กระบวนการของทฤษฎีฟื้นฟูพื้นที่สูญเปล่า แนวความคิดการจัดการที่ดินรกร้างของเมือง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้สอยพื้นที่เป็นหลัก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้ในการออกแบบทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยการใช้พื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่สีเขียวเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ให้กับชุมชนคนไร้บ้าน ให้มีความสัมพันธ์กันทั้งในแนวราบ และแนวดิ่ง โดยออกแบบเป็นโครงสร้างที่สามารถถอดประกอบหรือเคลื่อนย้ายได้ง่าย ใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อให้เกิดเป็นพื้นที่ใช้งานได้หลากหลาย
คำอธิบาย
วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
พื้นที่สูญเปล่า, พื้นที่ใต้ทางด่วน, ทฤษฎีฟื้นฟูพื้นที่สูญเปล่า, Finding Lost Space, ทฤษฎีพื้นที่ว่างสาธารณะขนาดเล็ก
การอ้างอิง
ณิชาภัทร ชุมศิริวงษ์. 2561. "การศึกษาพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของเมือง โครงการที่พักอาศัยใต้ทางด่วนเพื่อคนเร่ร่อน." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.