การพัฒนาระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษาไทย
กำลังโหลด...
วันที่
2561
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
ห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพการเรียนรู้แตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีที่ใช้ การที่ทราบถึงคุณภาพของห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนได้นั้นสิ่งสำคัญคือต้องมีเครื่องมือประเมินที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการประเมินผลห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนโดยใช้ตัวชี้วัดคุณภาพที่เหมาะสมกับประเทศไทยและเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับใช้ในการประเมินคุณภาพของห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนจริงในระดับชั้นการศึกษาต่าง ๆ ของไทย วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) การพัฒนาตัวชี้วัดในมิติคุณภาพต่าง ๆ 2) การพัฒนาระบบการประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษาระดับต่าง ๆ ของไทยและ 3) การประเมินระบบห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนที่พัฒนาขึ้นสำหรับการศึกษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่ามิติการวัดคุณภาพที่ใช้ในการประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนที่เหมาะสมกับการศึกษาของไทยแบ่งออกเป็น 5 มิติคือ มิติทางด้านเทคนิค มิติเนื้อหา มิติความรู้ความเข้าใจ มิติการรู้คิด และมิติทางสังคม ในแต่ละมิติมีตัวชี้วัดและค่าน้ำหนักที่แตกต่างกันไปตามบริบทของระดับการศึกษา ระบบการประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ส่วนคือ ส่วนการติดต่อผู้ใช้งาน ส่วนการประมวลผล ขั้นตอนวิธีการประมวลผล ตัวชี้วัดที่ใช้สำหรับการประเมิน และฐานข้อมูล ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้ภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL ระบบสามารถแสดงผลการประเมินคุณภาพ 5 มิติในรูปแบบตัวเลขและกราฟฟิคและให้ข้อแนะนำสำหรับตัวชี้วัดที่ควรปรับปรุงในแต่ละมิติ การประเมินระบบ 3 ด้านคือ ด้านการฟังก์ชันการทำงานของระบบ การใช้งานและประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญที่จากระดับชั้นการศึกษาต่าง ๆ จำนวน 5 คน พบว่ามีผลการประเมินอยู่ในระดับดีทั้ง 3 ด้าน และมีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบจากหน่วยงานด้านการศึกษาต่าง ๆ จำนวน 20 คน อยู่ในระดับดีมาก
คำอธิบาย
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
การพัฒนาระบบประเมิน, ห้องเรียนอัจฉริยะเสมือน, การศึกษาไทย
การอ้างอิง
พันธิการ์ วัฒนกุล. 2561. "การพัฒนาระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษาไทย." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.