ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการจัดเก็บสินค้า การขนส่งสินค้า และมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าต่อการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย

เชิงนามธรรม

การวิจัยครั้งนี้เ็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการจัดเก้บสินค้า ปัจจัยด้านการขนส่งสินค้า และมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตรายที่ส่งผลต่อการดำเนินการ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้ให้บริการขนส่งและการจัดเก็บสินค้าอันตรายในประเทศไทย จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มและการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรสังเกต ได้ 49 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามระดับความสำคัญของการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายให้ความสำคัญปัจจัยด้านการจัดเก็บสินค้า ปัจจัยด้านการขนส่งสินค้า และปัจจัยด้านมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตราย ทั้ง 3 ปัจจัยอยู่ระดับดี และเมื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยที่มีส่งผลต่อการดำเนินการ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ตัวแปรในโมเดลสามารอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายได้ร้อยละ 29

คำอธิบาย

ตารางและรูปภาพประกอบ

คำหลัก

การจัดการคลังสินค้า, สินค้าอันตราย, การดำเนินการ, ประสิทธิภาพ, การขนส่งสินค้า

การอ้างอิง

คมสัน โสมณวัตร. 2559. "ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการจัดเก็บสินค้า การขนส่งสินค้า และมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าต่อการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.