ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย: ศึกษากรณีชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนใต้ประเทศไทยและชาวพุทธเชื้อสายไทยในรัฐชายแดนเหนือประเทศมาเลเซีย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2550

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

การวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเป็นผู้แทนด้านการเมืองของชนกลุ่มน้อย มีความมุ่งหมายที่จะ สืบค้นถึงคำถามที่ว่า “ชนกลุ่มน้อยมีผู้แทนทางเมืองอย่างไรในการที่จะดำเนินกิจกรรมให้บรรลุถึงเป้าหมายผลประโยชน์ของชุมชนที่ได้กำหนดไว้?” โดยใช้ชุมชนชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูทางใต้ของประเทศไทยและชาวพุทธเชื้อสายไทยทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซียเป็นสนามตรวจสอบ การวิจัยฉบับนี้จึงเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ปัจจัยอิสระเจ็ดปัจจัยคือ การมีอิสรภาพในระบบการเมือง การสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ รูปแบบของการเป็นผู้นำ การเป็นผู้รู้ในศาสนา สภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การศึกษาสูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติ เพื่อค้นหาค่าความเป็นไปได้ โดยมีตัวแปรตามคือ “วิธีการที่ชนกลุ่มน้อยเป็นผู้แทนด้านการเมือง” จึงมีการใช้แหล่งข้อมูลทั้งที่เป็นปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ และที่เป็นทุติยภูมิจากการค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ ซึ่งได้จัดทำชุดคำถามหนึ่งชุดสอบถามความคิดเห็น แล้วทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ซึ่งตัวแปรอิสระตัวไหนที่มีระดับของความสัมพันธ์พิจาณณาดูจากความถี่และร้อยละ ค่าของร้อยละที่มากที่สุดจะถือเป็นการยอมรับสมมุติฐานที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้พบว่า ผู้นำที่มีหัวเสรีและการศึกษาสูงมีค่าความเป็นไปได้สูงสุด อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ความเคลื่อนไหวในการเป็นผู้แทนทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของความรุนแรงหรือการเดินสายกลาง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้นำหัวเสรีและสถานภาพการศึกษาสูง แต่จะขึ้นอยู่กับทิศทางการตอบสนองของรัฐบาลที่มีต่อชนกลุ่มน้อยนั้นเอง สิ่งที่น่าสังเกตุคือ ขณะที่ชุมชนมุสลิมเชื้อสายมลายูมีทั้งกระบวนการก่อความความรุนแรงและเดินสายกลาง แต่ชุมชนพุทธเชื้อสายไทยทางตอนเหนือของมาเลเซียไม่เคยรสนับสนุนความรุนแรงเลย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า รัฐบาลมาเลเซียไม่เคยมีการใช้นโยบายควบคุมที่บังคับชุมชนชาวไทยในประเทศของตนนั้นเอง ส่วนปัจจัยอื่นๆ อีกหกปัจจัยนั้นพบว่า มีความเห็นที่แตกต่างกันจากผู้ตอบคำถามจากทั้งสองกลุ่มศึกษา

คำอธิบาย

คำหลัก

การอ้างอิง