การควบคุมระดับการถือครองวัตถุดิบสำหรับโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2563-05-01

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

เชิงนามธรรม

บริษัทกรณีศึกษา ต้องการควบคุมระดับการถือครองวัตถุดิบ ให้มีวัตถุดิบจัดเก็บในคลังได้อย่างเพียงพอ เพื่อตอบสนองความต้องการการผลิต และการลดต้นทุนของวัตถุดิบได้ เนื่องจากพบว่ามีปัญหาวัตถุดิบล้นคลัง ทำให้การปฏิบัติงานในคลังทำได้ไม่สะดวกและมีต้นทุนการจัดการคลังวัตถุดิบสูง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงดำเนินการศึกษา วิเคราะห์สาเหตุ และเสนอแนวทางในการควบคุมระดับการถือครองวัตถุดิบ โดยประยุกต์ใช้แผ่นตรวจสอบในการเก็บข้อมูลความต้องการ ระดับการถือครอง และราคาของวัตถุดิบทั้งหมด 7 กลุ่ม ใช้แผนผังก้างปลาในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ใช้หลักการเอบีซีในการแบ่งกลุ่มวัตถุดิบและเลือกกลุ่มวัตถุดิบ AC ที่มีมูลค่าและปริมาณสูงที่สุดมาทำการวิจัยนำร่อง ซึ่งประกอบด้วยวัตถุดิบในกลุ่ม 30 ชนิด โดยเสนอแนวทางในการควบคุมระดับการถือครองวัตถุดิบ เริ่มจากการกำหนดค่าสต๊อกเพื่อความปลอดภัย กำหนดระดับการให้บริการที่ 95% และกำหนดนโยบายการสั่งซื้อโดยใช้สารสนเทศเชิงสถิติ ซึ่งทำให้สามารถลดระดับการถือครองของวัตถุดิบเฉลี่ยเหลือ 459 พาเลท/เดือน จากเดิม 484 พาเลท/เดือน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 5.17 และลดต้นทุนการจัดการคลังวัตถุดิบเหลือ 506,209,469.25 บาท จากเดิม 533,837,765.50 บาท หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 5.18

คำอธิบาย

-

คำหลัก

สต๊อกเพื่อความปลอดภัย, ระดับการให้บริการ, การแบ่งประเภทสินค้าคงคลังด้วยระบบเอบีซี, นโยบายในการสั่งซื้อ

การอ้างอิง

ชวลิต มณีศรี, จิรัญญา มานะสกุลวงศ์ และ กิติกุล ปุณศรี , “การควบคุมระดับการถือครองวัตถุดิบสำหรับโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก”, การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครั้งที่ 11 (CIOD 2020), กรุงเทพฯ, 1 พฤษภาคม 2563.