การพัฒนารหัสสถานที่เพื่อสนับสนุนระบบการตัดสินใจคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์
กำลังโหลด...
วันที่
2565
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
งานวิจัยเชิงผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารหัสสถานที่และระบบการตัดสินใจคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์เพื่อพัฒนารหัสสถานที่ คือ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ นักวิชาการ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ราย และกลุ่มตัวอย่างที่ทำแบบสอบถามเพื่อสร้างรหัสสถานที่ คือ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ลำดับชั้น (AHP) จากนั้นสร้างเว็บไซต์ทดลองการพัฒนาระบบการตัดสินใจคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ จากผลการวิจัยได้พัฒนารหัสสถานที่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์นำร่องได้ จำนวน 30 รหัส จากนั้นนำมาสู่การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบเชิงลำดับชั้น(AHP) และค่าน้ำหนักปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่มีค่าความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านความน่าเชื่อถือมีค่าน้ำหนัก 0.299 ด้านราคามีค่าน้ำหนัก 0.261 ด้านการตอบสนองมีค่าน้ำหนัก 0.221 ด้านเทคโนโลยีมีค่าน้ำหนัก 0.097 ด้านการบริการลูกค้ามีค่าน้ำหนัก 0.074 และด้านองค์กรมีค่าน้ำหนัก 0.048 ตามลำดับ ซึ่ค่าน้ำหนักดังกล่าวได้ถูกนำไปพัฒนาต่อในรูปแบบของเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการตัดสินใจคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ซึ่งพบว่าผู้ให้บริการโลจิสติกส์และผู้ใช้บริการโลจิสติกส์มีความพึงพอใจการพัฒนารหัสสถานที่เพื่สนับสนุนระบบการตัดสินใจคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยรวมอยู่ในระดับมาก
คำอธิบาย
ตารางและรูปภาพประกอบ
คำหลัก
รหัสสถานที่, การตัดสินใจ, ปัจจัยการคัดเลือก, ผู้ให้บริการโลจิสติกส์
การอ้างอิง
อุทุมพร อยู่สุข. 2563. "การพัฒนารหัสสถานที่เพื่อสนับสนุนระบบการตัดสินใจคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์." วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.