การลดของเสียในกระบวนการผลิตเสื้อสูบของคอมเพรสเซอร์ระบบปรับอากาศรถยนต์
กำลังโหลด...
วันที่
2562-12-19
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
กระบวนการผลิตคอมเพรสเซอร์ของระบบปรับอากาศรถยนต์ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วน เช่น คลัช พูเล่ย์ คอลย์คลัชแม่เหล็ก สวอชเพลต กระบอกสูบ และเสื้อสูบ เป็นต้น ซึ่งเสื้อสูบที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญพบปัญหาของเสีย คือ รอยกดทับของเศษชิ้นงานบริเวณขอบ Diameter105 และปัญหา Port NG (Remain) ทำให้ต้องนำชิ้นงานกลับมาทำใหม่หรือทิ้งชิ้นงานนั้นไปหากไม่สามารถแก้ไขได้ คิดเป็นร้อยละ 25 และ 13 ของของเสียรวมตามลำดับ ส่งผลต่อต้นทุน เวลาในการส่งมอบ และความน่าเชื่อถือต่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท งานวิจัยนี้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อลดปริมาณของเสียในการผลิตเสื้อสูบ โดยประยุกต์ใช้ใบตรวจสอบ แผนภูมิ พาเรโต แผนผังสาเหตุและผล ในการวิเคราะห์ปัญหา และใช้เทคนิคการระดมสมองในการหาแนวทางแก้ไข ซึ่งเสนอให้เพิ่มจุดตรวจสอบก่อนกระบวนการล้างชิ้นงานที่เน้นการตรวจสอบในจุดที่เป็นปัญหาหลัก โดยสร้างเอกสารวิธีปฏิบัติงานพร้อมใบตรวจสอบขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการทำงาน การทดลองใช้งานพบว่า สามารถลดจำนวนชิ้นงานกลับมาทำใหม่ และจำนวนทิ้งชิ้นงานเหลือ 525 ชิ้น จากเดิม 789 ชิ้น หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 33.5 ลดต้นทุนลง 60,720 บาทต่อเดือน และลดต้นทุนค่าทำงานล่วงเวลาในการนำชิ้นงานกลับมาทำใหม่ได้ 1,600 บาทต่อเดือน รวมลดต้นทุนทั้งหมด 62,320 บาทต่อเดือน
คำอธิบาย
-
คำหลัก
เสื้อสูบ, ใบตรวจสอบ, วิธีปฏิบัติงาน, การระดมสมอง
การอ้างอิง
ชวลิต มณีศรี, จิราวรรณ จินดาอ่อน และวรพจน์ พันธุ์คง, “การลดของเสียในกระบวนการผลิตเสื้อสูบของคอมเพรสเซอร์ระบบปรับอากาศรถยนต์”, การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14 ประจำปี 2562, กรุงเทพฯ, 19 ธันวาคม 2562.