สัญญะแห่งสถานที่ กรณีศึกษา : ชุมชนชาวจีนย่านตลาดน้อย กรุงเทพมหานคร
กำลังโหลด...
วันที่
2550
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
งานวิจัยเรื่องสัญญะแห่งสถานที่เป็นการศึกษาภายใต้กรอบความคิดในการวิจัยจากแนวทางการศึกษาปรากฏการณ์ศาสตร์และสัญศาสตร์ เพื่อการขยายขอบเขตความเข้าใจทางปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมือง ที่ว่างและสถาปัตยกรรม โดยมุ่งเน้นการตอบคำถามที่ว่าสัมผัสการรับรู้สถานที่เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นสาระสำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ จากการศึกษาพบว่าสัมผัสการรับรู้สถานที่เกิดจากองค์ประกอบทางกายภาพที่สำคัญห้าประการ ได้แก่ หนึ่งร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงอยู่ สองวิถีชีวิตในแบบพุทธของชาวจีน สามการซ้อนทับของกิจกรรมในสถานที่เดียวกันอย่างแยกไม่ออก สี่ผู้คนเชื้อสายจีน ห้าสัญลักษณ์ทางพิธีกรรมความเชื่อ อาคารและสถาปัตยกรรม ตลอดจนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน นอกจากนั้นผลของการวิเคราะห์เพื่อจัดกลุ่มขององค์ประกอบทางกายภาพในฐานะที่เป็นระบบสัญลักษณ์นั้น นำไปสู่ความเชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรมของชาวจีน ได้แก่ กลุ่มของสัญลักษณ์ทางด้านฮวงจุ้ยมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมทางด้านการตั้งถิ่นฐานในแบบชาวจีน กลุ่มของสัญลักษณ์ทางด้านการเคารพบูชามีรากฐานมาจากวัฒนธรรมการเคารพบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้าของชาวจีน กลุ่มของสัญลักษณ์ด้านการประกอบพิธีกรรมมีรากฐานมาจากลัทธิเต๋าและวัฒนธรรมด้านการบริโภค กลุ่มของระบบสัญลักษณ์ทางด้านปรัชญาในการดำรงชีวิตมีความเกี่ยวเนื่องกับทัศนะทางด้านจริยธรรมของชาวจีน ซึ่งเกิดจากการผสมผสานทางความเชื่อในแบบพุทธมหายาน แนวคิดของขงจื้อและเล่าจื้อ รวมทั้งแนวคิดในการปฏิบัติของลัทธิเต๋า จากการวิเคราะห์กรณีศึกษาย่านชุมชน ผังอาคารและที่ว่างในย่านตลาดน้อย พบว่าสัมผัสการรับรู้สถานที่นั้นเกิดจากสัญญะที่สำคัญสี่ประการ กล่าวคือ ผู้คนที่อยู่อาศัย ระบบที่ว่างที่มีความหมายทางระบบสัญลักษณ์ พิธีกรรมที่มีการสืบทอดมาจากความเชื่อดั้งเดิม และรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคม สัญญะทั้งสี่ประการนี้นำไปสู่การตีความและสร้างความหมายให้เกิดขึ้นในผังชุมชน ที่โล่งว่าง อาคารและสถาปัตยกรรมซึ่งมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับผู้อยู่อาศัยในย่านตลาดน้อยมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน