การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนรายวิชา LSC301 หลักการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยใช้เทคนิคมอบหมายการทำกรณีศึกษาประกอบการเรียน กับแบบที่ทำแบบฝึกหัด

dc.contributor.authorชัยยนต์ ชิโนกุล
dc.date.accessioned2553-04-26T08:59:21Z
dc.date.available2553-04-26T08:59:21Z
dc.date.issued2553
dc.description.abstractการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนรายวิชา LSC301 หลักการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยใช้เทคนิคมอบหมายการทำกรณีศึกษาประกอบการเรียน กับแบบที่ทำแบบฝึกหัดรวบรวมผลนำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย โดยใช้โปรแกรม SPSS ที่มหาวิยาลัยศรีปทุม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาในการจัดการการเรียนการสอนและประเมิณผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้แบบเดิมอาจารย์เป็นศูนย์กลาง กับการผลการศึกษาแบบนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง ซึ่งการวิจัยได้ดำเนินการโดยใช้กรณีศึกษา 6 เรื่องคือ 1. การขนส่งแบบ Ro-Ro (Roll On and Roll Off) 2. การเลือกตำแหน่งที่ตั้ง-เชฟวี่ทรัคโคโลราโด 3.การใช้Cross Docking ที่วอล์มาร์ท (The Wal-Mart Supply Chain) 4. การตั้งศูนย์กระจายสินค้า Distribution Center. 5. บริษัทโฟคสวาเกนในประเทศบราซิล 6. อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งเรียกว่ากลุ่มทดลอง ส่วนการสอนแบบให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดหลังการเรียนการสอน ใช้หัวข้อเรื่องที่ตรงกันแต่จะใช้แบบฝึกหัดถามตอบ ซึ่งเรียกว่ากลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นนักศึกษาในห้องเดียวกันลงทะเบียนเรียนในเทอม 2/2551 มีจำนวนรวม 64 คน และแบ่งเป็นสองกลุ่มเท่ากันโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มละ 32 คน ในวันสอบไล่มีผู้เข้าสอบเพียง 54 คน ขาดสอบ 10 คน กลุ่มทดลองขาดสอบ 3 คน กลุ่มควบคุมขาดสอบ 7 คน และได้ทำสัมภาษณ์เชิงลึกสอบถามความพึงพอใจกับกลุ่มตัวอย่างที่สองกลุ่มได้ผลว่านักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา นักศึกษาให้ความเห็นว่ากรณีศึกษาทำให้จำได้กว่า และเป็นเรื่องราวที่น่าจำ และนักศึกษาในกลุ่มทำแบบฝึกหัดแสดงความคิดเห็นว่ากรณีศึกษาน่าจะทำให้จำบทเรียนได้ง่ายขึ้น สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น และภายหลังการทดสอบ โดยใช้สถิติ t-test แบบ dependent sample t-test เพื่อหาความแตกต่าง ผลวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบมีกรณีศึกษาจะมีผลสัมฤทธิ์ปลายภาคสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบที่ทำแบบฝึกหัด 2. นักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบมีกรณีศึกษา กับนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบที่ทำแบบฝึกหัด มีความสนใจในการเรียนไม่ต่างกัน 3. นักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบมีกรณีศึกษา มีความพึงพอใจในการเรียนมากกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบที่ทำแบบฝึกหัดen_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยในชั้นเรียน ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จากมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1681
dc.subjectการสอนโดยใช้กรณีศึกษาen_US
dc.subjectteaching with case studyen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนรายวิชา LSC301 หลักการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยใช้เทคนิคมอบหมายการทำกรณีศึกษาประกอบการเรียน กับแบบที่ทำแบบฝึกหัดen_US
dc.title.alternativeA Comparison Study of Learning achievement on LSC301 Principles of Logistics and Supply Chains Management Course between Teaching with Case Study and Class Exercise.en_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
004.pdf
ขนาด:
350.48 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: