ปัญหาทางกฎหมายในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
dc.contributor.author | มหาแถลง, นฤพร | |
dc.date.accessioned | 2553-07-09T03:38:11Z | |
dc.date.available | 2553-07-09T03:38:11Z | |
dc.date.issued | 2552 | |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องปัญหาทางกฎหมายในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงปัญหาในทางกฎหมาย รวมถึงปัญหาในทางปฏิบัติในการใช้กฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยศึกษาถึงลักษณะการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและความเข้าใจมากขึ้น ในเรื่องของฐานความผิด บทบาทอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ และในเรื่องของพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 นี้ มีลักษณะที่แตกต่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น โดยกฎหมายมุ่งคุ้มครองประโยชน์สูงสุดในเรื่องของสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในบางกรณีจึงถูกควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจจากหน่วยงานอื่น เช่น เรื่องขอบอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องขออนุญาตศาลตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 18(1) (2) และ (3) เจ้าพนักงานสามารถใช้อำนาจในการสอบถาม เรียกบุคคล ขอข้อมูลที่ผู้ให้บริการเก็บไว้ได้โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากศาล ตามความในมาตรา18(3) อ้างถึง มาตรา 26 กำหนดให้ผู้บริการต้องเก็บข้อมูลย้อนหลัง 90 วัน และเจ้าพนักงานก็เรียกตรวจสอบได้ทันทีโดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ให้บริการ ซึ่งอาจจะต้องปรับกฎหมายหรือกระจายภาระในการจัดเก็บข้อมูลไปให้แก่หน่วยงานย่อยๆ เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม ในทางปฏิบัติ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 นั้นประสบปัญหาต่อการใช้อำนาจในกรณีที่ต้องขออนุญาตจากศาล อีกทั้งความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดแม้กระทั่งทำให้กรณีที่ทำให้ข้อมูลถูกเปิดเผยโดยประมาท และปัญหาในเรื่องการประสานงานระหว่างของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติฯกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ปัญหาเหล่านี้ จากการศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุง ดังนี้ 1. แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550ในกรณีของการทำสำเนาข้อมูลของคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 18(4) อาจกระทำได้สำหรับกรณีที่จำเป็นเร่งด่วนหรือเกรงว่าผู้ต้องหาหรือพยานบุคคลอาจไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำสำเนาได้โดยไม่ต้องขออนุญาตศาล 2. แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 23 ในเรื่องความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่อาจต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติฯแม้กระทำโดยประมาทในกรณีที่เปิดเผยข้อมูลที่ได้รับตามมาตรา 18 3. สร้างความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการประสานงานระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 กับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ในเรื่องของคดีการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1814 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | en_US |
dc.subject | การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.title | ปัญหาทางกฎหมายในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |