การศึกษาสภาพการใช้บริการอินเทอร์เน็ตของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา
กำลังโหลด...
ไฟล์
วันที่
2551-02-14T18:25:35Z
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้บริการอินเทอร์เน็ต สถานที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บริการอินเทอร์เน็ตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี และ(2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตของนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา โดยจำแนกตามเพศ คณะ และชั้นปี ในด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้านความเหมาะสมของสถานที่ให้บริการคอมพิวเตอร์ และด้านความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และการทดสอบที (t test )ในการทดสอบความแตกต่างด้านเพศ และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance )ในการทดสอบความแตกต่างด้านชั้นปีที่ศึกษา และคณะ
ที่ศึกษาและเมื่อพบว่ามีความแตกต่างกัน จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยทดสอบตามวิธี LSD
ผลการวิจัยพบว่า
1. เพศ กลุ่มตัวอย่างเพศชายและหญิงมีความคิดเห็นต่อการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน โดยเพศหญิงมีความคิดเห็นต่อการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและด้านความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตมากกว่าเพศชาย
2. ชั้นปี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในชั้นปีที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน
ด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ชั้นปีที่ 1 มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มที่ศึกษาในชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4
ด้านความเหมาะสมของสถานที่ให้บริการคอมพิวเตอร์ ชั้นปี 1มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มที่ศึกษาในชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3
ด้านความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ชั้นปีที่ 1 มีความคิดเห็นมากกว่าชั้นปีที 3 และปีที่ 4
3. คณะ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ในคณะที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน
ด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นมากกว่าคณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์
ด้านความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสาตร์ และคณะศิลปกรรมศาสตร์มีความคิดเห็นมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์
คำอธิบาย
คำหลัก
อินเทอร์เน็ต