รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน
dc.contributor.author | ปณิตา แจ้ดนาลาว | th_TH |
dc.contributor.author | ธรินี มณีศรี | th_TH |
dc.date.accessioned | 2563-06-28T16:05:04Z | |
dc.date.available | 2020-06-28T16:05:04Z | |
dc.date.issued | 2563-01 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานและรูปแบบการ จัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน เพื่อนำเสนอแนวทางให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน สำหรับกลุ่มสินค้าเกษตร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย จำนวน 1,447,678 ราย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัด สุพรรณบุรี 10 อำเภอ 369 แห่ง รวมสมาชิก 6,167 ราย โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 384 คน สำหรับงานวิจัย เชิงคุณภาพเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ดูแลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และประธานกลุ่มหรือตัวแทนของ กลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับละ 4 คน ได้แก่ ระดับดี ระดับ ปานกลาง และระดับปรับปรุง และลูกค้าของกลุ่มสินค้าเกษตร 10 คน เครื่องมือในการวิจัยสำหรับเก็บรวบรวม ข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและใช้ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 แล้วนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ หาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้เทคนิคทางสถิติของโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า การจัดการโซ่อุปทานผ่านความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน มีค่าสัมประสิทธิ์ มากที่สุด (Alpha=0.98) ประสิทธิภาพการดำเนินงานมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความสัมพันธ์กันเชิงบวก และยังพบอีกว่า การที่วิสาหกิจชุมชนสินค้าเกษตรจะประสบความสำเร็จและ ยั่งยืนได้นั้น วิสาหกิจชุมชนต้องมีการบริหารจัดการตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดตั้งกลุ่มต้องมีความร่วมมือกันภายในผู้นำ และสมาชิก ร่วมกันนำทุนทางวัฒนธรรมของในชุมชนและท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการผลิตสินค้าของกลุ่ม รวมทั้งต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่กำกับดูแลและภาคเอกชนและมีการจัดการอย่างเป็นระบบตั้งแต่ การวางแผนการจัดการโซ่อุปทานตั้งแต่การเริ่มต้นการผลิตสินค้าจนถึงการส่งมอบสินค้าที่ต้องมีการตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า สิ่งสำคัญของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคือต้องสร้างให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจและเชื่อถือใน คุณภาพของสินค้าของกลุ่ม รวมถึงการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสินค้าเกษตรอย่างยังยื่นต้องมีการคำถึง สิ่งแวดล้อมของในชุมชน ช่วยการรักษาภาพลักษณ์ของชุมชน และกลุ่มต้องสามารถปรับการดำเนินการของกลุ่มได้ ทันท่วงทีกับสภาพเศรษฐกิจและพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คำสำคัญ การจัดการโซ่อุปทาน, วิสาหกิจชุมชน, กลุ่มสินค้าการเกษตร | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6702 | |
dc.publisher | วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา | th_TH |
dc.subject | การจัดการโซ่อุปทาน | th_TH |
dc.subject | วิสาหกิจชุมชน | th_TH |
dc.subject | กลุ่มสินค้าการเกษตร | th_TH |
dc.title | รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน | th_TH |
dc.title.alternative | SUPPLY CHAIN MANAGEMENT MODEL FOR COMMUNITY ENTERPRISE OF SUSTAINABLE AGRICULTURAL PRODUCT GROUPS | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |