การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำน้ำมันต้นยางนามาผลิตไบโอดีเซล

เชิงนามธรรม

บทความนี้ เป็นการศึกษาการนำน้ำมันยางดิบจากต้นยางนาซึ่งเป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง มาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนอีกรูปแบบหนึ่ง ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการนำน้ำมันยางดิบที่ได้จากต้นยางมาให้ความร้อนในถังกลั่น จากอุณหภูมิ 27 °C จนเพิ่มขึ้นประมาณ 78 °C น้ำมันยางดิบก็จะเริ่มเดือดและระเหยกลายเป็นไอสะสมอยู่ในถังกลั่นจนอุณหภูมิเพิ่มเป็น 270 °C จึงนำไปผ่านชุดคอนเดนเซอร์เพื่อควบแน่นเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง ก็จะได้น้ำมันยางและกากยางซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้ ข้อมูลจากการกลั่นพบว่าน้ำมันยางดิบปริมาตร 800 mL. จะผลิตเป็นน้ำมันยางได้ประมาณ 690 mL. จากนั้นจึงนำน้ำมันยางและน้ำมันดีเซลไปทดลองหาค่าความร้อนเชื้อเพลิงใน bomb calorimeter เพื่อเปรียบเทียบกัน ได้ค่าความร้อนของน้ำมันยางประมาณ 10,000.40 cal/g น้ำมันดีเซลประมาณ 10,657.60 cal/g ซึ่งใกล้เคียงกันมาก เมื่อนำน้ำมันยางที่ได้ไปผสมกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วน 10% 15% และ 20% โดยปริมาตรจนได้น้ำมันไบโอดีเซล B10 B15 และ B20 น้ำมันไบโอดีเซลที่ได้นี้ถูกนำไปทดลองใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล NISSAN 4 สูบ 4 จังหวะ 3,000 ซีซี ที่ความเร็วรอบต่าง ๆ ระหว่าง 1,000 – 2,100 rpm ในช่วงเวลาการทดลองที่เท่ากัน พบว่าการสิ้นเปลืองของน้ำมันไบโอดีเซลจะน้อยกว่าน้ำมันดีเซลเล็กน้อยขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของส่วนผสม เปอร์เซ็นต์ควันดำและค่าความหนืดของไบโอดีเซลจะสูงกว่าน้ำมันดีเซล คำสำคัญ : ไบโอดีเซล / น้ำมันยาง / พืชน้ำมัน

คำอธิบาย

คำหลัก

น้ำมันต้นยาง, ไบโอดีเซล

การอ้างอิง

คอลเลคชัน