เปิดโลกการ์ตูนดิจิทัลกับ “เว็บตูน”: แนวทางสร้างคอนเทนต์สู่สากล
กำลังโหลด...
วันที่
2567-07-10
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
วารสารสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
เชิงนามธรรม
บทคัดย่อ
เว็บตูน คือแพลตฟอร์มอ่านการ์ตูนดิจิทัลผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับเกาหลีใต้ บทความนี้จึงเสนอการวิเคราะห์เว็บตูนใน 3 ประเด็นหลักคือ 1. รูปแบบวิธีการสื่อสารของเว็บตูน ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน โดยออกแบบให้ใช้งานง่าย เป็นมิตรกับสมาร์ตโฟน เพราะใช้การไถหน้าจอจากบนลงล่างเพียงนิ้วเดียว มีความยาวไม่เกิน 10 นาทีทำให้อ่านได้ทุกที่ทุกเวลา และยังมีแนวเรื่องหลากหลาย รวมทั้งมีวิธีสื่อสารทั้งภาพและเสียง เช่นเสียงดนตรีประกอบ ต่างจากการ์ตูนแบบเก่าที่มีแต่ภาพนิ่ง 2. มีหลายวิธีสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างชุมชนผู้อ่านออนไลน์ โดยครีเอเตอร์ สามารถคุยกับผู้อ่านในคอมเมนต์ท้ายตอน และฟังเสียงตอบรับของผู้อ่านเพื่อปรับปรุงผลงานได้อย่างทันทีทันใด 3. การสร้างระบบส่งเสริม ต่อยอดคอนเทนต์ให้ยั่งยืน โดยร่วมมือข้ามวัฒนธรรม และการเผยแพร่คอนเทนต์สู่ระดับสากลเพื่อเพิ่มดึงดูดครีเอเตอร์หน้าใหม่ การมีระบบสนับสนุนนักเขียนหน้าใหม่ผ่านการประกวด และการปรับระบบบรรณาธิการ เป็นระบบโปรดิวเซอร์คอยช่วยเหลือ ดูทิศทางคอนเทนต์ และการตลาดแบบรอบด้าน นอกจากนี้ยังหาช่องทางการเผยแพร่ผลงานให้หลากหลาย โดยต่อยอดในรูปแบบอื่นๆ เช่น ซีรีส์ ภาพยนตร์ และการร่วมมือกับนักเขียน อินฟลูเอนเซอร์ในท้องถิ่นเพื่อสร้างกระแสและขยายฐานผู้อ่าน
คำอธิบาย
Abstract
Webtoon is a digital comic platform accessed via websites or apps, significantly boosting South Korea's economy. This article analyzes Webtoon through three main perspectives: 1) Communication Methods: Consumer-Friendly Design: Easy-to-use, smartphone-compatible, vertical scrolling, and short episodes (under 10 minutes) for on-the-go reading. Diverse Storylines: Wide range of genres and multimedia elements like background music, unlike traditional static comics. 2) Reader Engagement: Interactive Community: Creators engage with readers through comments, allowing for immediate feedback and content improvement. 3) Ecosystems for Sustainable Content Development: Cross-Cultural Collaboration: International content dissemination and fair revenue-sharing attract new creators, Support for New Creators: Regular contests and a producer-based system guide content creation and marketing and Content Expansion: Adaptations into series, movies, and collaborations with local influencers to broaden the reader base.
คำหลัก
เว็บตูน, ดิจิทัลคอนเทนต์, สื่อที่เป็นมิตรกับผู้บริโภค, ความร่วมมือข้ามวัฒนธรรม, Webtoon, Digital Content, Consumer-Friendly Media, Cross-Cultural Collaboration
การอ้างอิง
นับทอง ทองใบ และวรรณี งามขจรกุลกิจ. (2567). เปิดโลกการ์ตูนดิจิทัลกับ “เว็บตูน”: แนวทางสร้างคอนเทนต์สู่สากล. วารสารสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. ปีที่ 10 (2) พฤษภาคม – สิงหาคม, 48 - 59