ปัญหาในการทำงานบางเวลา ของนิสิต นักศึกษาในระดับสถาบันอุดมศึกษา
dc.contributor.author | ดารา พงษ์สมบูรณ์ | |
dc.date.accessioned | 2551-06-11T07:32:20Z | |
dc.date.available | 2551-06-11T07:32:20Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการทำงานบางเวลาของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยเก็บข้อมูลการศึกษาจากกลุ่มนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 6 สถาบัน ประกอบด้วย สถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ จำนวน 3 สถาบัน และสถาบันอุดมศึกษาจากภาคเอกชน จำนวน 3 สถาบัน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบ Accidental Random Sampling และเจาะจงเฉพาะนิสิตนักศึกษาที่ทำงานบางเวลาเท่านั้น สถิติที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการหาค่าเฉลี่ยข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ Chi-Square การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการทำงานบางเวลาของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นปัญหาในระดับปานกลางถึงมาก คือ ปัญหาทำให้ไม่สนใจการเรียน ความสามารถในการเรียนลดลง ผลการเรียนต่ำลง สุขภาพร่างกายและจิตใจตกต่ำลง มีเพื่อนน้อยลง ขาดโอกาสในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และมีเวลาอยู่กับครอบครัวน้อยลง สาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องทำงานบางเวลามาจาก ค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอกับรายได้ที่ได้รับจากบิดามารดา หรือจากเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการทำงานบางเวลาในสถานที่ทำงาน เป็นปัญหาระดับปานกลางที่พบมากที่สุด คือเวลาในการทำงานบางเวลาไม่เพียงพอ ชั่วโมงการทำงานไม่สอดคล้อง และไม่เอื้อกับตารางเรียน มีเวลาพักผ่อนน้อยเกินไป อัตราค่าจ้าง ค่าตอบแทนไม่เหมาะสม สวัสดิการที่องค์กรให้แก่นักศึกษาไม่เหมาะสม งานในหน้าที่ไม่ตรงกับสาขาที่เรียน ไม่มีผู้ให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่ดีในระหว่างทำงาน ขาดความรู้ในงานที่ต้องรับผิดชอบ สถานที่ทำงานขาดการมอบหมายงานที่ดี ปริมาณงานที่ได้รับมอบหมายมีมากเกินไป ไม่มีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดี งานที่ทำไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้ งานในหน้าที่มีความยุ่งยาก ซ้ำซ้อน หลายขั้นตอน ระบบงานภายในองค์กรไม่คล่องตัว ไม่มีความสามารถในการใช้เครื่องมือสื่ออุปกรณ์ มีความขัดแย้งกันระหว่างบุคคลในสถานที่ทำงาน และเข้ากับผู้ร่วมงานไม่ได้ นอกจากนี้ นิสิตนักศึกษามีความต้องการที่จะให้สถาบันการศึกษาของตนให้การสนับสนุนปัจจัยต่างๆ เพื่อให้การทำงานบางเวลาดำเนินไปด้วยดี ปราศจากปัญหาอุปสรรค โดยเสนอให้มีคะแนนประสบการณ์ในการทำงานบางเวลา ให้คิดเป็นจำนวนหน่วยกิต และมีผลการประเมิน เพื่อให้ทุนสนับสนุนเบื้องต้นที่จำเป็น รวมทั้งให้เกียรติบัตรและวุฒิบัตร ส่วนข้อดีในการทำงานบางเวลาของนิสิตนักศึกษา พบว่าอยู่ในระดับมากทั้งหมดคือ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พึ่งพาตนเองได้ มีความภาคภูมิใจและเป็นการพัฒนางานอาชีพ พัฒนาความชำนาญด้านการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น นอกจากนี้นิสิตนักศึกษา ยังได้ให้ข้อเสนอแนะว่า องค์กรควรมีระบบพี่เลี้ยงที่ดี เพื่อให้เวลาในการให้คำปรึกษาแนะนำอย่างใกล้ชิดและเพียงพอ ตลอดจนระยะเวลาในการทำงานบางเวลา ควรให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับตารางเรียนในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะทำให้นิสิตนักศึกษา ไม่เครียดจนเกินไป และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1151 | |
dc.title | ปัญหาในการทำงานบางเวลา ของนิสิต นักศึกษาในระดับสถาบันอุดมศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | THE PROBLEMS OF PART-TIME JOB UNIVERSITY STUDENTS | en_US |
dc.type | Article | en_US |