การกระจายทางสถิติของปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการรับแรงของชิ้นส่วนโครงสร้าง คสล.
กำลังโหลด...
วันที่
2552-05-14
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
NCCE14
เชิงนามธรรม
มาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กวิธีกำลัง วสท. 1008-38 ได้คัดลอกค่าส่วนเผื่อที่ใช้ในการออกแบบต่าง ๆ อันได้แก่ ตัวคูณน้ำหนักบรรทุก (Load Factor) และ ตัวคูณลดกำลัง (Strength Reduction Factor) มาจากมาตรฐาน ACI318 ซึ่งส่วนเผื่อเหล่านี้ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้สำหรับการก่อสร้างในประเทศไทยก็ได้ หากมีการหาส่วนเผื่อต่าง ๆ เหล่านี้โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติที่เก็บในประเทศไทย ก็ย่อมจะเหมาะสมมากกว่า ข้อมูลทางสถิติดังกล่าวได้แก่ (1) การกระจายของน้ำหนักบรรทุก ซึ่งจะมีผลต่อแรงภายในของชิ้นส่วนโครงสร้าง (Load Effect) และ (2) การกระจายของขนาดของหน้าตัดคอนกรีต ขนาดของเหล็กเสริม กำลังของวัสดุที่ใช้ทั้งคอนกรีตและเหล็กเสริม รวมไปถึงตำแหน่งของการวางเหล็กเสริม ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการรับแรง (Resistance) บทความนี้เสนอถึงการเลือกชนิดของการกระจายมาตรฐานที่เหมาะสมที่สุด (Fit Distribution) สำหรับข้อมูลความกว้างของคาน ขนาดของเสา ความกว้างและความยาวของฐานราก แรงดึงที่จุดครากของเหล็กเส้น กำลังประลัยของคอนกรีต ความลึกประสิทธิผลของหน้าตัดคาน และฐานราก ซึ่งได้เก็บมาจากสถานที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัยในเขต กทม. และปริมณฑล ผลของการวิเคราะห์นี้จะนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น สำหรับการเลือกส่วนเผื่อที่เหมาะสมสำหรับมาตรฐานออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคต
EIT. 1008-38 Reinforced Concrete Design Standards adopted the design margins including load factors and strength reduction factors from the ACI318 standards. These design margins are based on American statistical data. The adoption of these margins may or may not suitable for the designing of structures in Thailand. It would be more appropriate to select the design margins based on the statistical data collected in Thailand itself. These data include (1) distributions of the loads which affect the internal forces of the structural members and (2) the distributions of the member sectional sizes, rebar sizes, concrete and steel strengths and also the location of the rebars which affect the load capacity (Resistance) of the members. This paper presents the selection of the most suitable standard distributions (Fit Distribution) including beam width, column size, footing width and length, actual size and yield load of rebars, ultimate strength of concrete, effective depth of beams and footings. These data were collected from the residential construction sites in Bangkok metropolitan area. The result from this analysis will be preliminary used for the selection of the appropriate design margins for Thailand reinforced concrete standards in the future.
คำอธิบาย
คำหลัก
Thailand Construction Data, Reinforced Concrete Standards, Design Margins, Load Factors, Strength Reduction Factors, Resistance Factors