การเลือกตัวคูณลดกำลังเพื่อใช้ในการออกแบบโมเมนต์ดัดในคานและพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยพิจารณาถึงการกระจายของมวลต่อความยาวของเหล็กเส้น สำหรับบ้านพักอาศัย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2548-10-25

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปีครั้งที่ 1

เชิงนามธรรม

ปัจจุบันนี้เหล็กเส้นเสริมคอนกรีตในตลาดวัสดุก่อสร้างไทยมีให้เลือกหลายระดับราคา ซึ่งไม่ใช่เหล็กเส้นทุกชนิดในตลาดที่ผ่าน มอก 20-2543 (สำหรับเหล็กเสริมกลม) และ มอก 24-2536 (สำหรับเหล็กเสริมข้ออ้อย) การศึกษานี้เป็นการเก็บตัวอย่างเหล็กเส้นที่ใช้จริงจากสถานที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัยจำนวน 100 หลัง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเลือกเก็บตัวอย่างเหล็กเส้นขนาด RB6 RB9 DB12 และ DB16 ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในโครงสร้างบ้านพักอาศัยโดยทั่วไป เพื่อนำมาหาการกระจายของมวลต่อความยาว ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระดับความปลอดภัยของโครงสร้าง จากตัวอย่างที่เก็บมาได้ พบว่ามีอัตราส่วนของจำนวนเหล็กเส้นที่ไม่ผ่านเกณฑ์เฉลี่ยของ มอก ต่อจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในแต่ละขนาดร้อยละ 23.2 26.0 35.7 และ 35.1 สำหรับเหล็กเส้น RB6 RB9 DB12 และ DB16 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานส่วนหนึ่งสำหรับการเลือกค่าตัวคูณลดกำลัง (strength reduction factor) ที่เหมาะสม ในการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคต จากการทดลองวิเคราะห์ความเชื่อมั่นที่นำมาเสนอนี้ ซึ่งได้พิจารณาถึงแต่เฉพาะผลของการกระจายของมวลต่อความยาวของเหล็กเสริมตัวอย่างที่แตกต่างไปจากข้อมูลของการก่อสร้างในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ผลค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับโมเมนต์ดัดที่จะรักษาระดับของความเชื่อมั่นไว้ให้เท่าเดิม phi=0.75 และ 0.70 สำหรับคานหล่อในที่เสริมด้วยเหล็ก DB12 และ DB16 ตามลำดับ และ phi=0.75, 0.65 และ 0.80 สำหรับพื้นหล่อในที่เสริมด้วยเหล็ก RB6 RB9 และ DB12 ตามลำดับ

คำอธิบาย

คำหลัก

การกระจายของมวลต่อความยาว, บ้านพักอาศัย, ตัวคูณลดกำลัง, เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต, การวิเคราะห์ความเชื่อมั่น

การอ้างอิง

คอลเลคชัน