ระบบการแลกเปลียนสารสนเทศและข้อมูลทางการแพทย์ในระบบส่งต่อผ่านเว็บเซอร์วิส
กำลังโหลด...
วันที่
2560
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
งานวิจัยนี้นำเสนอการการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนสารสนเทศ และข้อมูลทางการแพทย์ผ่าน
เว็บเซอร์วิส วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ การพัฒนาและประเมินผลระบบแลกเปลี่ยนสารสนเทศ
และข้อมูลทางการแพทย์ผ่านเว็บเซอร์วิสผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยน
สารสนเทศและข้อมูลทางการแพทย์ในระบบส่งต่อผ่านเว็บเซอร์วิส โดยมุ่งเน้นการพัฒนาข้อมูล
การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยอิเล็กทรอนิกส์ และกระบวนการส่งต่อในระบบส่งต่อผ่านเว็บเซอร์วิส ตั้งแต่
ขั้นตอนการเตรียมข้อมูลการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลผู้ป่วยส่งกลับ และข้อมูลรายงาน
ทางสถิติการติดต่อสื่อสารระหว่างระบบส่งต่อผ่านเว็บเซอร์วิสระหว่างฝั่งรับ และฝั่งส่งเป็นการส่ง
ต่อที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยสร้างเมตาดาต้าเป็นต้นแบบข้อมูลมาตรฐานกลาง และโครงสร้าง
เอกสารเอ็กซ์เอ็มแอลสำหรับการส่งต่อข้อมูลระหว่างระบบที่ต่างกัน จากการทดสอบระบบ
แสดงผลผ่านเว็บเซอร์วิส ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ลดระยะเวลาการติดต่อประสานงาน มีความ
สะดวก รวดเร็วขี้น ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นผลการประเมินประสิทธิภาพระบบ
ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าในภาพรวมประสิทธิภาพระบบอยู่ในระดับดีมากนักวิชาการ
คอมพิวเตอร์และบุคลากรมีความเห็นว่าประสิทธิภาพระบบอยู่ในระดับดี และหน่วยงานสังกัด
กระทรวงสาธารณสุขได้นำระบบการแลกเปลียนสารสนเทศและข้อมูลทางการแพทย์ในระบบส่ง
ต่อผู้ป่วยผ่านเว็บเซอร์วิสไปใช้งาน จำนวน 2,424 แห่ง แบ่งเป็นโรงพยาบาลในเขต 8 จังหวัด
ภาคเหนือตอนบน จำนวน 714 แห่ง และจังหวัดอื่นๆ จำนวน 1,728 แห่ง This research proposed a design of a Web-Services-based information and medical data exchange model. The purpose of the research is to design and developed a prototype system for patients’ information and medical data exchange between hospitals, under the Ministry of Health,in timely response and in accordance with international standards. A prototype system, based on this design, was implemented and evaluated for efficiency, effectiveness, and satisfaction of the prototype system. The results found that . The information and medical data exchange processes,
in accordance with the XML, for handling data storing, data processing, data searching and retrieving were at fairly good level. The accuracy of data storing, data searching and editing, and reporting was at good level; . The performance efficiency of the prototype system was very good for the data security, followed by the completion of the requirements of the applications, and career responsibility respectively ; The satisfaction of users (provincial hospitals, city hospitals, and district hospitals) was at good level;. 2,424 hospitals, under the Ministry of Health, adopted the system for their referral systems.
คำอธิบาย
วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
เว็บเซอร์วิส, ระบบการแลกเปลียนสารสนเทศและข้อมูลทางการแพทย์, WEB SERVICE REFERRAL SYSTEM, MEDICAL INFORMATION AND DATA EXCHANGE MODEL
การอ้างอิง
ธีรินทร์ เกตุวิชิต. 2558. "ระบบการแลกเปลียนสารสนเทศและข้อมูลทางการแพทย์ในระบบส่งต่อผ่านเว็บเซอร์วิส." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.