ก้าวต่อไปของกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2561-12

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

เชิงนามธรรม

ภายหลังการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ระยะหนึ่ง ได้พบ ปัญหาหลายประการ นำไปสู่การเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว พ.ศ. …… จากการศึกษา ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวพบหลายประเด็นที่น่าพิจารณา ซึ่งในที่นี้จะยกขึ้นมาพิจารณาสามประเด็น คือ การให้ศาลมีอำนาจ สั่งห้ามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้าไปในที่อยู่อาศัย หรือให้ย้ายออกจากที่พักอาศัย แม้ที่อยู่อาศัยหรือที่พักอาศัยนั้น เป็นของผู้กระทำหรือผู้กระทำมีสิทธิตามกฎหมายในสถานที่นั้นก็ตาม การให้อำนาจนี้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้กระทำใน ฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินเกินสมควรหรือไม่ เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าไม่เกินสมควร เนื่องจากกระทำไปเพื่อประโยชน์ สาธารณะ แม้จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้กระทำแต่ประโยชน์สาธารณะย่อมเหนือกว่าสิทธิส่วนบุคคล ประเด็นต่อมา กรณีผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ ควรมีมาตรการอื่น ๆ ในการคุ้มครองเพิ่มเติมหรือไม่ พบว่าควรมี มาตรการอื่นเพิ่มเติม เช่น ให้ศาลมีอำนาจสั่งถอนคืนการให้ ด้วยเหตุที่ผู้รับการให้ได้กระทำความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้ให้ซึ่ง เป็นผู้สูงอายุ และประเด็นสุดท้าย การกำหนดให้ผู้พบเห็นหรือทราบการกระทำความรุนแรงในครอบครัวแจ้งต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ แต่มิได้กำหนดบทลงโทษหรือมาตรการใด ๆ แก่ผู้ที่ไม่แจ้ง บทบัญญัติที่ให้แจ้งนี้เพียงพอแล้วหรือไม่ที่จะทำให้ทุกคน ในสังคมตระหนักว่าตนเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว พบว่ายังไม่เพียงพอ รัฐควรร่วมมือกับทุกภาคส่วนใน การให้ความรู้และจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการกระทำความรุนแรงในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง

คำอธิบาย

คำหลัก

การคุ้มครองสวัสดิภาพ, ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง, ความรุนแรงในครอบครัว

การอ้างอิง