การสร้างรูปแบบองค์กรแบบลีน ซิก ซิ๊กม่า สำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย
dc.contributor.author | วรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2565-11-18T04:14:07Z | |
dc.date.available | 2022-11-18T04:14:07Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.description | ตารางและรูภาพประกอบ | |
dc.description.abstract | การผลิตแบบ ลีน เน้นความคล่องตัวเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลง เช่น ความต้องการลูกค้า ผลิตภัณฑ์ใหม่ วิธีกาพนักงาน สถานที่ใหม่ ใช้ทรัพยากรสร้างคุณค่าแก่ลูกค้า คิดจากมุมมองลูกค้า เพิ่มคุณค่า ลดความสูญเปล่า และพัฒนาอย่างต่อเนื่องแนวคิดพื้นฐานคือ การพยายามรักษาการไหลของสินค้าให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ซิกซิ๊กม่า คือ ปรัชญาการบริหารองค์กรโดยมุ่งไปที่ลูกค้า ใช้ข้อเท็จจริงและข้อมูลในการบริหารองค์กร เป็นวัฒนธรรมองค์กรแบบก้าวกระโดด ลักษณะ ซิกซิ๊กม่า เป็นกระบวนการที่รวบรวมหลักการปรับปรุงต่าง ๆ ลีน และ ซิกซิ๊กม่า มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการให้ดียิ่งขึ้น โดยเครื่องมือของ ลีน จะถูกมุ่งเน้นไปที่การกำจัดความสูญเปล่าในการทำงานหรือกระบวนการ เพื่อให้การไหลของงานและข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างสะดวก การบูรณาการทั้ง ลีน และ ซิกซิ๊กม่า เข้าด้วยกันโดยมุ่งเน้นที่กระบวนการธุรกิจ หรือกระบวนการโซ่อุปทาน มีเป้าหมายสูงสุดของธุรกิจคือการมีกระบวนการธุรกิจที่มีขีดความสามารถในการตอบสนองทั้งปริมาณความต้องการ และความหลากหลายของความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การประยุกต์ใช้แนวคิด ลีน ซิกซิ๊กม่า ด้วยกระบวนการโซ่อุปทาน จะทำให้กระบวนการสร้างสรรค์คุณค่าสู่ลูกค้าให้ดีขึ้นด้วยการลดความสูญเปล่า และพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะของกระบวนการในมุมมองของลูกค้า วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ ลีน ซิกซิ๊กม่า สำหรับผู้ประกอบการการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ และ 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อ ลีน ซิกซิ๊กม่า สำหรับผู้ประกอบการการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ งานวิจัยนี้ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งจะเก็บรวบรวมข้อมูลการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประสิทธิภาพ และการบวนการผลิต ที่มีผลต่อ ลีน ซิกซิ๊กม่า และการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อ ลีน ซิกซิ๊กม่า สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่เป็นกรณีศึกษาในงานวิจัยนี้ ตอนที่ 2 เป็นการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการด้านระบบการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมถึงผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิต จากผลการวิเคราะห์พบว่า 1) การสร้างได้เปรียบในการแข่งขันแบบจับต้องได้มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อปัจจัยด้านกระบวนการการผลิต 2) การสร้างได้เปรียบในการแข่งขันแบบจับต้องไม่ได้มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อปัจจัยด้านกระบวนการการผลิต 3) กระบวนการการผลิตมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อ ลีน ซิกซิ๊กม่า และ 4) ประสิทธิภาพมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อ ลีน ซิกซิ๊กม่า | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | วรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยา. 2561. "การสร้างรูปแบบองค์กรแบบลีน ซิก ซิ๊กม่า สำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8672 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | Lean | th_TH |
dc.subject | Six sigma | th_TH |
dc.subject | การได้เปรียบทางการแข่งขัน | th_TH |
dc.title | การสร้างรูปแบบองค์กรแบบลีน ซิก ซิ๊กม่า สำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | DEVELOPING A COMBINATION OF LEAN SIX SIGMA ENTERPRISE PATTERN FOR THE CASE STUDY OF AUTOMOTIVE INDUSTRIAL IN THAILAND | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 18
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- 1. ปกหน้าดุษฎีนิพนธ์.pdf
- ขนาด:
- 58.9 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: