สิทธิการให้นมแม่ในสถานประกอบการ : ประเด็นใหม่ในด้านกฎหมาย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562-12

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เชิงนามธรรม

เป็นที่ยอมรับโดยนานาประเทศว่าน้ำนมแม่เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็กต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญา ตลอดจนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค จึงเป็นที่มาของการรณรงค์สนับสนุนให้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) และองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ซึ่งส่งผลให้กฎหมายของประเทศต่างๆ ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิการให้นมแม่เอาไว้ในประเด็นสำคัญ คือ การกำหนดระยะเวลาลาคลอดที่เหมาะสมโดยลูกจ้างยังได้รับค่าตอบแทน ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและได้มีความพยายามผลักดันการขยายระยะเวลาลาคลอด และให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนด้วยการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากประเด็นดังกล่าวข้างต้นสิทธิการให้นมแม่ในสถานประกอบการยังเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่หลายประเทศให้ความสำคัญ โดยได้มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้สถานประกอบการ แต่ละแห่งต้องจัดเตรียมสถานที่สำหรับให้นมหรือปั้มนมระหว่างทำงานที่ไม่ใช่ห้องน้ำหรือห้องพยาบาลให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้างต้องปฏิบัติตาม ในขณะที่ประเทศไทยยังขาดความสนใจนี้ ดังนั้น ประเทศไทยสมควรนำมาพิจารณาให้สิทธิการให้นมแม่ในสถานประกอบการเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมการให้นมแม่ต่อพัฒนาการของเด็กที่ดียิ่งขึ้น และยังเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและลูกจ้าง รวมถึงประเทศชาติโดยรวมต่อไป Recognized by various countries, breast milk is a nutritious food and the most beneficial for child physical and intellectual development as well as strengthen immunity. Therefore, World Health Organization (WHO) and United Nations International Children's Emergency Fund (UNICEF) lunched the campaign to support breastfeeding which has resulted in the laws of various countries has established and protected the rights to breastfeeding as a major issue, which is to determine the appropriate maternity leave with pay. This matter, Thailand foresee the importance of this issue and endeavor to extend of maternity leave and allow the employee to receive the wage by amending the current law, which are the Labor Protection Act B.E. 2541 and the Social Security Act B.E. 2533. However, apart from the above issues, the breastfeeding rights in the workplace is another issue that many countries pay attention to. By having the provisions of law required that each organization facility must prepare a place for breastfeeding or breast pump during working hour which is not the bathroom or the nursing room. While Thailand still lacks this awareness. Therefore, In order to promote breastfeeding for better child development and also benefit employers and employees including the nation as a whole, Thailand deserves to recognize the breastfeeding rights in the workplace materially.

คำอธิบาย

คำหลัก

law, breastfeeding, breastfeeding bill of rights, breastfeeding rights in the workplace, กฎหมาย การให้นมแม่ สิทธิการให้นมแม่ สิทธิการให้นมแม่ในสถานประกอบการ

การอ้างอิง

กฎหมาย การให้นมแม่ สิทธิการให้นมแม่ สิทธิการให้นมแม่ในสถานประกอบการ,law, breastfeeding, breastfeeding bill of rights, breastfeeding rights in the workplace