เรื่องเล่าลูกผสมและการสร้างคาแร็คเตอร์แบบการ์ตูนในรายการ The Mask Singer

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2561-01-01

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการวิเคราะห์รายการโทรทัศน์ “The Mask Singer ด้วยกรอบแนวคิดการเล่าเรื่องและการสร้างคาแร็คเตอร์ตัวละคร ซึ่งพบว่ารายการมีลักษณะแบบ “ลูกผสม” โดยผสมผสานการเล่าเรื่องของสื่อต่างๆ ที่แตกต่างเข้าไว้ด้วยกันจนสร้างความแปลกใหม่แก่ผู้ชม โดยมีประเด็นสำคัญคือ (1) การนำแนวเรื่อง และประเภทรายการมาผสมผสาน โดยเฉพาะแนวเรื่องแบบลึกลับสืบสวน จินตนาการ และตลก รวมทั้งยังมีส่วนผสมของประเภทรายการที่แตกต่างกันทั้งรายการแข่งขันร้องเพลง เกมโชว์ ทอล์คโชว์ และซีรีส์ (2) รายการปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้เข้าแข่งขันในรายการร้องเพลงให้กลายเป็น “ตัวละคร” ที่มีรูปลักษณ์ต่างกัน และใช้หลักการออกแบบคาแร็คเตอร์ที่เน้นรูปร่างและสัดส่วนเกินจริงตามแนวทางการสร้างคาแร็คเตอร์แบบการ์ตูนผ่านการสวมหน้ากากและเครื่องแต่งกายของผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งเพิ่มมูลค่าให้ผู้ผลิตรายการสามารถนำคาแร็คเตอร์ไปต่อยอดเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้

คำอธิบาย

คำหลัก

รายการโทรทัศน์ การสร้างบุคลิกลักษณะตัวละคร การเล่าเรื่อง ลูกผสม แนวเรื่อง, TV Show, Characterization, Narrative, Hybrid, Genre

การอ้างอิง

กฤษดา เกิดดี. 2547. ประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ. กาญจนา แก้วเทพ. 2557. ศาสตร์แห่งสื่อ และวัฒนธรรมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์. กำจร หลุยยะพงศ์. 2556. ภาพยนตร์กับ การประกอบสร้างสังคม ผู้คน ประวัติศาสตร์ และชาติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และคณะ. 2547. สุนทรียนิเทศศาสตร์ : การศึกษา สื่อสารการแสดงและสื่อจินตคดี. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.