การใช้ประโยชน์ BIM (Building information modeling).สำหรับอาคารอัจฉริยะ (Smart buildings).ในประเทศไทย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2564-08

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

วารสาร สมาคมวิศวกรเครื่องกลไทย (Thai Society of Mechanical Engineers, TSME)

เชิงนามธรรม

จากการรับรู้และเติบโตอย่างต่อเนื่องของกระบวนการแบบจำลองอาคารสารสนเทศ (building information modeling, BIM) ได้ถูกประยุกต์ใช้ในการสร้างแบบจำลองสามมิติ (3-D) ทั้งงานออกแบบสถาปัตยกรรม งานออกแบบวิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมงานระบบอาคาร เพื่อความสะดวกในการประสานงานร่วมกัน ทั้งการประมาณราคา รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนและควบคุมกระบวนการต่างๆให้สอดคล้องและถูกต้อง เป็นแนวคิดจากประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ BIM ถูกใช้ลดขั้นตอนความผิดพลาดอย่างแพร่หลายเนื่องจากต้นทุนงานก่อสร้างที่สูงมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาหลายเท่าตัวยกตัวอย่างข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกา (Azhar at al. 2011) อาคารขนาดประมาณ 10,000 ตารางเมตร มีมูลค่างานก่อสร้างถึง 39 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,170 ล้านบาท) มีค่าก่อสร้างสูงกว่าประเทศไทยประมาณ 5 - 10 เท่า (เด่นชัย และพุฑฒิพงษ์, 2563) ทำให้ BIM software ถูกพัฒนาถึงขั้นสามารถใช้งานอย่างเป็นรูปธรรมในมิติการลดต้นทุนและการควบคุมเวลา (5-D) เมื่อเทียบกับความเสี่ยงต่อความเสียหายทำให้เกิดการคืนทุนที่ชัดเจน (Barlish and Sullivan, 2017) รวมถึงขยายผลไปยังส่วนงาน facility management (FM) เรียกว่า 7-D (Obrecht, 2020) รวมส่วนงานวัฏจักรอาคาร (building life cycle) และงานซ่อมบำรุงอาคาร (operation and maintenance, O&M) ดังสรุปได้ตามนโยบายส่งเสริมของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) เพื่อยกระดับงานวิศวกรรมของประเทศไทย ในรูปที่ 1

คำอธิบาย

คำหลัก

BIM, iBIM, Smart Buildings

การอ้างอิง

สมาคมวิศวกรเครื่องกลไทย (Thai Society of Mechanical Engineers, TSME)